หลักสูตรภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ

ความเป็นมา

          ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 จนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ความร่วมมือทางวิชาการกับ Yuxi Normal University มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยได้ร่วมกันจัดการเรียนการสอนภาษาไทยให้กับนักศึกษาชาวจีน โดยวิธีการการแลกเปลี่ยนให้นักศึกษาชาวจีนมาเรียนภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และส่งอาจารย์ชาวไทยจากสาขาวิชาภาษาไทยไปปฏิบัติการสอนภาษาไทยที่ Yuxi Normal University สาธารณรัฐประชาชนจีน
          ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2557 มีนักศึกษาชาวจีนที่ศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย Yuxi Normal University ชั้นปีที่ 2 จำนวน 15 คน ได้เดินทางมาเรียนภาษาไทย ในชั้นปีที่ 3 และ 4 ในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาเป็นรุ่นแรก ด้วยวิธีการเทียบโอนหน่วยกิต และนักศึกษาชาวจีนจะได้รับปริญญาจากทั้งสองสถาบัน ซึ่งสำเร็จการศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2558
       ในระหว่างที่จัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาชาวจีนรุ่นแรก โปรแกรมวิชาภาษาไทยได้ทำแบบสำรวจความพึงพอใจในด้านการจัดการเรียนการสอน กิจกรรม และความต้องการของผู้เรียน จากรายงานผลการสำรวจความพึงพอใจต่อการเรียนในโปรแกรมวิชาภาษาไทยสำหรับนักศึกษาชาวต่างประเทศ (กนิษฐา พุทธเสถียร.  2558ค) แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับนักศึกษาชาวต่างประเทศ ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขการจัดการเรียนการสอน และความต้องการในด้านการจัดการเรียนการสอน ผลการวิจัยที่ส่งผลต่อการพิจารณาการพัฒนาหลักสูตรใหม่ ในหัวข้อ สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขการจัดการเรียนการสอน พบว่า นักศึกษาชาวจีนมีปัญหาในด้านการออกเสียง การจดจำคำศัพท์ใหม่ ๆ การเรียงคำให้เป็นประโยค การฟังกรณีผู้พูดพูดเร็วเกินไป รวมถึงเลือกใช้คำศัพท์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ การเขียนภาษาทางการ รวมถึงรายวิชาที่เรียนไม่มีประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพของนักศึกษาชาวต่างประเทศที่ชัดเจนนัก  ส่วนในประเด็นความต้องการในด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า    มีความต้องการให้มหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว การจัดการธุรกิจ การแปล เพื่อจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพได้ รายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทย เช่น       การทำอาหารไทย นาฏศิลป์ไทยควบคู่ไปกับการศึกษาภาษาไทย  จากนั้นคณาจารย์ในสังกัดโปรแกรมวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้เข้าหารือกับอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา   รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ รองอธิการบดีฝ่ายจัดการศึกษา ผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ และผู้อำนวยการส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน เพื่อหาแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป จึงได้แนวทางร่วมกันว่าจะพัฒนาหลักสูตรใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และมีความเหมาะสมกับผู้เรียนที่เป็นชาวต่างประเทศมากที่สุด จึงเริ่มดำเนินการจัดทำแบบสำรวจความต้องการและแรงจูงใจในการเรียนภาษาไทยของชาวต่างประเทศจากผู้ที่อยู่ในประเทศไทยระยะยาว ได้แก่ นักศึกษา ผู้ที่เข้ามาทำงาน      ผู้ที่มีคู่สมรสหรือมีบุคคลซึ่งมีความสัมพันธ์ฉันคู่สมรสอยู่ในประเทศไทย และผู้ที่อยู่ในประเทศไทยระยะสั้น ได้แก่ ผู้ที่มาเยี่ยมญาติหรือท่องเที่ยว รวมถึงผู้ที่ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย จำนวน 39 คน นำเสนอผลการสำรวจ 2 ประเด็น ได้แก่ ผลการสำรวจตามวัตถุประสงค์หลัก: ความต้องการให้เปิดหลักสูตรภาษาไทยสำหรับ      ชาวต่างประเทศ และผลการสำรวจอื่นที่เกี่ยวข้องกับผลการสำรวจตามวัตถุประสงค์หลัก จากรายงานผลความต้องการและแรงจูงใจในการเรียนภาษาไทยของชาวต่างประเทศ ผลปรากฏว่า มีความต้องการให้เปิดหลักสูตรภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ ร้อยละ 90.00 โดยต้องการให้เปิดหลักสูตรภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร หลักสูตรภาษาไทยกับการล่ามและการแปล และหลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมไทย ตามลำดับ โดยมีแรงจูงใจในเรื่องประโยชน์ของการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ใช้ในการประกอบอาชีพ และใช้ในการศึกษาต่อตามลำดับ ในด้านรายวิชาในหลักสูตร พบว่า ผู้ตอบแบบสอบให้ความสำคัญกับการมีหลักสูตรภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร หลักสูตรภาษาไทยกับการล่ามและการแปล และหลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมไทยตามลำดับ จากผลการวิจัยทั้งหมด ส่งผลให้มีการพัฒนาหลักสูตรเป็นหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ และเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในภาคการศึกษาที่ 1  ปีการศึกษา 2559 มีนักศึกษาชาวจีนจาก Yuxi Normal University มาศึกษาในหลักสูตรจำนวน 79 คน ต่อมาใน ในปีการศึกษา 2560 มีนักศึกษาชาวจีนจำนวน 69 คน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 44 คน และในปีการศึกษา 2562 จำนวน 36 คน 
วันที่เผยแพร่ 23 พฤษภาคม 2562
ผู้เผยแพร่ admin

ประธานหลักสูตร

 

 

วันที่เผยแพร่ 23 พฤษภาคม 2562
ผู้เผยแพร่ admin

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย       หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

          สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ 

ภาษาอังกฤษ   Bachelor of Arts in Communicative Thai for Foreigners

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย       ชื่อเต็ม   ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ)

          ชื่อย่อ    ศศ.บ. (ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ)

ภาษาอังกฤษ   ชื่อเต็ม   Bachelor of Arts (Communicative Thai for Foreigners)

   ชื่อย่อ    B.A. (Communicative Thai for Foreigners)

วิชาเอก

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ

จำนวนหน่วยกิต

ไม่น้อยกว่า 126 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

รูปแบบ

หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี

ประเภทของหลักสูตร

ประเภทหลักสูตรทางวิชาการ

ภาษาที่ใช้

จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย 

อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสำเร็จการศึกษา 

          หลักสูตรนี้สร้างขึ้นเพื่อให้บัณฑิตสาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศสามารถประกอบอาชีพได้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ใช้ภาษาไทย เช่น ครู อาจารย์ นักแปล ล่ามประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ด้านการจัดการและการท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ รวมทั้งประกอบอาชีพอิสระตามความถนัดของตน
 

ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา

เรียนรู้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ควบคู่ไปกับสังคม วัฒนธรรมท้องถิ่น และสังคม วัฒนธรรมไทย ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการประกอบอาชีพ

ความสำคัญ 

           หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มุ่งผลิตบัณฑิตชาวต่างประเทศให้มีความรู้ความเข้าใจภาษาไทย ควบคู่ไปกับสังคม วัฒนธรรมท้องถิ่น และสังคม วัฒนธรรมไทย สามารถใช้ทักษะภาษาไทยในการติดต่อสื่อสาร ประกอบอาชีพทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ 

วัตถุประสงค์ 

เพื่อผลิตบัณฑิต หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้ 

มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมไทย

มีความสามารถในการนำความรู้ทางการสื่อสารไปใช้ประกอบอาชีพตามความถนัดได้อย่างเหมาะสม

มีความตระหนักถึงคุณค่าของภาษาและวัฒนธรรมไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ

มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับบริบทของสังคมและวัฒนธรรมไทย

มีทักษะในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับ

ชาวต่างประเทศ มีรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้

. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ต้องเรียนทุกกลุ่มวิชารวมไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

ดังนี้

1.  กลุ่มวิชาภาษา เรียน 9-12 หน่วยกิต
     1.1  บังคับ   9 หน่วยกิต
001001

 

001002

001003

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

 

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2

3(3-0-6)

 

3(3-0-6)

3(3-0-6)

หน่วยกิต

 

หน่วยกิต

หน่วยกิต

     1.2  เลือก[1]   0-3 หน่วยกิต
001004

 

001005

001006

001007

001008

001009

001010

001011

001012

ภาษาไทยเพื่องานอาชีพ

 

ความงดงามทางภาษาไทย

ภาษาอังกฤษเพื่องานอาชีพ

ภาษาจีนกลางพื้นฐาน

ภาษาญี่ปุ่นพื้นฐาน

ภาษาเขมรพื้นฐาน

ภาษาฮินดีพื้นฐาน

ภาษาฝรั่งเศสพื้นฐาน

ภาษาลาวพื้นฐาน

3(3-0-6)

 

3(3-0-6)

3(3-0-6)

3(3-0-6)

3(3-0-6)

3(3-0-6)

3(3-0-6)

3(3-0-6)

3(3-0-6)

หน่วยกิต

 

หน่วยกิต

หน่วยกิต

หน่วยกิต

หน่วยกิต

หน่วยกิต

หน่วยกิต

หน่วยกิต

หน่วยกิต

2.  กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ เรียน 6-9 หน่วยกิต
    2.1  บังคับ   6 หน่วยกิต
002001

 

002002

วิถีแห่งชีวิต 3(3-0-6) หน่วยกิต
ท้องถิ่นไทย 3(3-0-6) หน่วยกิต
    2.2  เลือก   0-3 หน่วยกิต
002003

 

002004

จิตวิทยาเพื่อการดำเนินชีวิต 3(3-0-6) หน่วยกิต
มนุษย์กับสุนทรียภาพ 3(3-0-6) หน่วยกิต
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

   
3.  กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ เรียน 3-6 หน่วยกิต
    3.1 บังคับ   3 หน่วยกิต
003001 การเป็นพลเมือง 3(3-0-6) หน่วยกิต
    3.2 เลือก   0-3 หน่วยกิต
003002003003

 

003004

สังคมโลกอนาคต 3(3-0-6) หน่วยกิต
มนุษย์กับอารยธรรม 3(3-0-6) หน่วยกิต
อาเซียนศึกษา 3(3-0-6) หน่วยกิต
003005

 

003006

กฎหมายในการดำรงชีวิต 3(3-0-6) หน่วยกิต
แหล่งและวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3(3-0-6) หน่วยกิต
4.  กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี   เรียน 6-9 หน่วยกิต
     4.1  บังคับ   6 หน่วยกิต
004001

 

004002

เทคโนโลยีสารสนเทศ 3(2-2-5) หน่วยกิต
การคิดเชิงระบบและการตัดสินใจ 3(3-0-6) หน่วยกิต
     4.2  เลือก   0-3 หน่วยกิต
004003

 

004004

004005

004006

การส่งเสริมสุขภาพและการออกกำลังกาย 3(2-2-5) หน่วยกิต
สิ่งแวดล้อมและพลังงานเพื่อความยั่งยืนแห่งชีวิต 3(3-0-6) หน่วยกิต
อาหารเพื่อชีวิต 3(3-0-6) หน่วยกิต
เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน 3(3-0-6) หน่วยกิต
5.  กลุ่มวิชาการบริหารจัดการ เรียน 3 หน่วยกิต
     5.1  เลือก   3 หน่วยกิต
005001

 

005002

005003

การเป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่ 3(3-0-6) หน่วยกิต
เศรษฐกิจกับวิถีชีวิต 3(3-0-6) หน่วยกิต
การจัดการตนเองเพื่อพัฒนางาน 3(3-0-6) หน่วยกิต
                 

 

 ข. หมวดวิชาเฉพาะ     เรียนไม่น้อยกว่า                         90  หน่วยกิต

  1. กลุ่มวิชาเอกบังคับ                                     เรียน           36   หน่วยกิต
225111 การออกเสียงภาษาไทย 3(3-0-6)    หน่วยกิต
225112 การฟัง-พูดภาษาไทยในชีวิตประจำวัน 3(2-2-5)    หน่วยกิต
225113 การอ่าน-เขียนภาษาไทยในชีวิตประจำวัน 3(2-2-5)    หน่วยกิต
225114 การฟัง – พูดภาษาไทยขั้นสูง 3(2-2-5)    หน่วยกิต
225115 การอ่าน - เขียนภาษาไทยขั้นสูง 3(2-2-5)    หน่วยกิต
   

 

 

 

 

 

 

 
225116 หลักภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

 

สำหรับชาวต่างประเทศ

3(3-0-6)    หน่วยกิต
225117 ความหมายในภาษาไทย 3(3-0-6)    หน่วยกิต
225118 ภาษากับสังคมและวัฒนธรรมไทย 3(3-0-6)    หน่วยกิต
225119 หลักการแปลเป็นภาษาไทยเบื้องต้น 3(2-2-5)    หน่วยกิต
225120 ไทยคดีศึกษา 3(3-0-6)    หน่วยกิต
225121 ภาษากับการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม 3(3-0-6)    หน่วยกิต
225411 สัมมนาการใช้ภาษาไทยของชาวต่างประเทศ 3(2-2-5)    หน่วยกิต

 

  1. กลุ่มวิชาเอกเลือก เรียนจำนวนไม่น้อยกว่า           48   หน่วยกิต

ให้เลือกเรียนจากวิชาต่าง ๆ ดังนี้

 

203171 ศิลปะไทย 3(1-4-4)   หน่วยกิต
204131 นาฏศิลป์ไทยเบื้องต้น 3(1-4-4)   หน่วยกิต
205103 ดนตรีไทยพื้นฐาน 2(1-2-3)   หน่วยกิต
205131

 

212113

การขับร้องเพลงไทย

 

โคราชศึกษา

2(0-4-2)   หน่วยกิต

 

3(2-2-5)   หน่วยกิต

225211 ภาษาไทยเพื่อการท่องเที่ยว 3(3-0-6)   หน่วยกิต
225212 การแปลสำหรับงานท่องเที่ยว 3(2-2-5)   หน่วยกิต
225213 ศิลปะการพูดสำหรับชาวต่างประเทศ 3(2-2-5)   หน่วยกิต
225214 ภาษาไทยเพื่อการจัดการทางธุรกิจ 3(3-0-6)   หน่วยกิต
225215 ความรู้พื้นฐานทางวรรณคดีไทยสำหรับ

 

ชาวต่างประเทศ

3(3-0-6)   หน่วยกิต
225216 ความรู้พื้นฐานทางวรรณกรรมไทยสำหรับชาวต่างประเทศ 3(3-0-6)   หน่วยกิต
225217 ลักษณะภาษาไทยในสื่อมวลชน 3(3-0-6)   หน่วยกิต
225218 การเขียนเพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ 3(2-2-5)   หน่วยกิต
225219 ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย 3(3-0-6)   หน่วยกิต
225311 การแปลสำหรับการจัดการธุรกิจ 3(2-2-5)   หน่วยกิต
225312 ภาษาไทยสำหรับการสื่อสารในองค์กร 3(2-2-5)   หน่วยกิต
225313 มิติวัฒนธรรมไทยในสื่อบันเทิง 3(3-0-6)   หน่วยกิต
225314 ภาษาไทยในบทเพลง 3(3-0-6)   หน่วยกิต
225315 ภาษากับความหลากหลายในสังคมไทย 3(3-0-6)   หน่วยกิต

 

 

 

 

 

 

225316 การเล่นทางภาษา 3(3-0-6)   หน่วยกิต
225317 วรรณคดีไทยเพื่อการท่องเที่ยว 3(2-2-5)   หน่วยกิต
225318 ลีลาร้อยแก้วภาษาไทย 3(3-0-6)   หน่วยกิต
225319 การพูดทางวิทยุและโทรทัศน์เบื้องต้น 3(2-2-5)   หน่วยกิต
225320 ถ้อยคำสำนวนไทย 3(3-0-6)   หน่วยกิต
225321 การกล่าวสุนทรพจน์และกล่าวบรรยาย 3(2-2-5)   หน่วยกิต
300301 องค์การและการจัดการ 3(3-0-6)   หน่วยกิต
301202 การจัดการการเปลี่ยนแปลง

 

และพัฒนาองค์กร

3(3-0-6)   หน่วยกิต
301301 การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ 3(3-0-6)   หน่วยกิต
301304 การจัดการธุรกิจขนาดย่อม 3(3-0-6)   หน่วยกิต
301307 การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ 3(3-0-6)   หน่วยกิต
301403 การเจรจาต่อรองและการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางธุรกิจ 3(3-0-6)   หน่วยกิต
322102 หลักการโรงแรม 3(3-0-6)   หน่วยกิต
323203 การจัดการอาหารและเครื่องดื่ม 3(2-2-5)   หน่วยกิต
324302 การจัดการธุรกิจ MICE 3(2-2-5)   หน่วยกิต
326205 การจัดการธุรกิจนำเที่ยวและธุรกิจตัวแทนจำหน่ายธุรกิจด้านการท่องเที่ยว 3(2-2-5)   หน่วยกิต
326208 สัมมนาการท่องเที่ยว 3(2-2-5)   หน่วยกิต
326308 หลักการนำเที่ยว 3(2-2-5)   หน่วยกิต
406413 ภูมิปัญญาท้องถิ่นอาหารไทย 3(2-3-6)   หน่วยกิต
419205 อาหารไทย 3(2-2-5)   หน่วยกิต
419206 ขนมไทย 3(1-3-5)   หน่วยกิต

 

  1. กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ                    เรียน            6   หน่วยกิต
225412 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพภาษาไทย 1(0-45-0) หน่วยกิต
225413 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพภาษาไทย    5(0-450-0) หน่วยกิต
225414 สหกิจศึกษา 6(0-640-0) หน่วยกิต

 

 

 

 

 

 

 

 

. หมวดวิชาเลือกเสรี       เรียนไม่น้อยกว่า                    6    หน่วยกิต

ให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาโดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตรของสาขาวิชานี้

[1] ในกรณีวิชาเลือกภาษาต่างประเทศ (รหัสวิชา 001007 - รหัสวิชา 001012) ไม่อนุญาตให้ผู้เรียนลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่เป็นภาษาแม่ของตนเอง

วันที่เผยแพร่ 23 พฤษภาคม 2562
ผู้เผยแพร่ admin

สถานที่ เบอร์โทร

อาคาร 36 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เทศบาลนครนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30000
0942807968 (อาจารย์รุ้งเพชร วรพงศาทิตย์)

Website
     http://www.human.nrru.ac.th/

Facebook Fanpage
     https://www.facebook.com/CommunicativeThaiforForeignersNRRU
     ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ NRRU

วันที่เผยแพร่ 23 พฤษภาคม 2562
ผู้เผยแพร่ admin