โปรแกรมวิชาศิลปศึกษา
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา
( หลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี พ.ศ. 2555 )
ปี พ.ศ. 2510 การเรียนการสอนทางศิลปะ ขึ้นอยู่กับหมวดวิชาศิลปหัตถศึกษา วิทยาลัยครูนครราชสีมา มีอาจารย์บุญส่ง อิ่มแก้ว เป็นหัวหน้าหมวด อาจารย์ประจำหมวดวิชา ประกอบด้วยอาจารย์เกษมสิงห์ อิงคนินันท์ อาจารย์จันทอง อาจารย์อรุณี บุญญานุเคราะห์ อาจารย์สุพจน์ ประเสริฐสังข์ อาจารย์มงคล แก้วพวงงาม และอาจารย์สนอง โกศัย สถานที่ตั้งหมวดวิชาอยู่บริเวณที่ตั้งคณะวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมกับอาคาร 10 ในปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมเป็นโรงเก็บพัสดุของตำรวจ มีลักษณะเป็นอาคารไม้หลังคาสูงโล่ง พื้นติดดินจำนวน 3 หลัง แต่ละหลังตั้งห่างกันประมาณ 20 เมตร หันหน้าเข้าหาถนน ทางวิทยาลัยได้ดัดแปลงให้เป็นอาคารเรียน หลังแรกเป็นโรงฝึกงาน มีงานไม้ งานดิน งานโลหะ งานไฟฟ้า ระหว่างอาคารหลังที่ 1 และหลังที่ 2 สร้างอาคารเชื่อมต่อทำเป็นห้องพักอาจารย์ ส่วนอาคารหลังที่ 2 เป็นอาคารเรียนทฤษฏี มีห้องเรียน 2 ห้อง ห้องพักอาจารย์ศิลปะอีก 1 ห้อง
ปี 2515 ได้แยกออกเป็น หมวดวิชาศิลปศึกษา โดยไปตั้งอยู่ที่โรงอาหารโรงเรียนสาธิต บริเวณอาคารที่ตั้งคณะวิชาครุศาสตร์ในปัจจุบัน โดยแบ่งครึ่งตรงกลางทำเป็นห้องพักอาจารย์ ขวามือเป็นห้องเรียนศิลปะ ซ้ายมือเป็นโรงอาหาร ลักษณะเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว มุงสังกะสี มีอาจารย์ประจำหมวดจำนวน 4 ท่าน คือ อาจารย์สนอง โกศัย อาจารย์ประนอม นะนุนา อาจารย์อัจฉรา แก้วพวงงาม โดยอาจารย์มงคล แก้วพวงงาม ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าหมวด
วิทยาลัยครูยุคนั้นเปิดเรียนระดับ ป.กศ.ต้น 2 ปี ป.กศ.สูง 2 ปี รายวิชาทางศิลปะที่สอนในระดับ ป.กศ.ต้น คือ วิชาศิลปะประวิจักษ์ ต่อมาพัฒนาเป็นวิชาความซาบซึ้งในศิลปะ วิชาศิลปะเบื้องต้น และวิชาสอนศิลปะในระดับประถม
ปี พ.ศ. 2516 เปิดสอนวิชาโทศิลปศึกษา ระดับ ป.กศ.ชั้นสูงเป็นปีแรก
ปี พ.ศ. 2517 มีอาจารย์ย้ายมาเพิ่มอีก 1 คน คือ อาจารย์ประยงค์ รื่นเริงใจ ส่วนอาจารย์ประนอมได้ย้ายไปอยู่วิทยาลัยครูจันทรเกษม
ปี พ.ศ. 2518 อาจารย์สุชาติ ศรีสุข บรรจุมาเพิ่มอีก 1 ท่านรวมเป็น 5 ท่าน
ปี พ.ศ. 2519 เปิดสอนวิชาเอกศิลปศึกษา ระดับ ป.กศ.ชั้นสูง เป็นปีแรก โดยวิทยาลัยได้รื้อโรงอาหารโรงเรียนสาธิตเพื่อจัดทำสวนเกษียณ ภาควิชาศิลปศึกษาจึงได้ย้ายไปอยู่ชั้นล่างอาคาร 5 ใช้อาคารเรียนชั่วคราวของอาคารวิทยาศาสตร์และบริเวณที่ขายอาหารคหกรรมเป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน
ปี พ.ศ. 2521 วิทยาลัยได้ยุบเลิกโรงเรียนสาธิต(บริเวณที่ตั้งหอประชุมอนุสรณ์ 70 ปี ในปัจจุบัน เดิมเป็นอาคารไม้ยกสูงชั้นเดียวมีประมาณ 5-6 ห้อง ด้านหลังเป็นอาคารเรียนประติมากรรมเปิดโล่งไม่มีผนัง) ภาควิชาศิลปศึกษาจึงย้ายเข้าไปอยู่แทน และได้เปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรีวิชาเอกศิลปศึกษา 2 ปีหลัง ครุศาสตรบัณฑิต รุ่นแรกภาคเสาร์-อาทิตย์ เรียกว่า อคป.(อบรมครูประจำการ) วิทยาลัยได้จัดให้นายสำราญ บัวจันอัด มาเป็นเจ้าหน้าที่ประจำอาคารศิลปะ ซึ่งไดอยู่ประจำแม้จะย้ายอาคารศิลปะไปหลายแห่ง จนกระทั่งเกษียณอายุราชการ
ปี พ.ศ. 2522 เปิดสอนวิชาเอกศิลปศึกษา ระดับปริญญาตรี 2 ปีหลังภาคปกติ ส่วนอาจารย์ สุชาติ ศรีสุข ได้ย้ายกลับภูมิลำเนาที่วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม จ.พิษณุโลก
ปี พ.ศ. 2526 เปิดภาคสมทบ หลักสูตรเทคนิคการอาชีพศิลปกรรม รุ่นที่ 1 และอาจารย์ธวัช ตราชู ก็ได้บรรจุเข้ามาเป็นอาจารย์ในปีเดียวกัน
ปี พ.ศ. 2527 วิทยาลัยรื้ออาคารโรงเรียนสาธิตซึ่งเป็นที่ตั้งของภาควิชาศิลปศึกษา ภาควิชาจึงได้ย้ายไปอยู่อาคารเก่าวิทยาศาสตร์(อาคารไม้ชั้นเดียว 4-5 ห้อง) อาคารเป็นรูปตัว L อยู่ริมถนนติดอาคารคหกรรม และได้เปิดภาคสมทบ หลักสูตรเทคนิคการอาชีพศิลปกรรม 2 รุ่น ส่วนห้องปฏิบัติงานประติมากรรมย้ายไปอยู่อาคารหลังโรงอาหาร ภาพพิมพ์อยู่ห้องเก็บพัสดุติดเวทีโรงอาหารด้านหลัง และในปีนี้ได้เริ่มจัดนิทรรศการศิลปะขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรก ใช้ชื่อว่านิทรรศการงานศิลปกรรม ครั้งที่ 1 จัดบริเวณลานโล่งหน้าอาคาร ซึ่งก็คือสนามเทนนิสในปัจจุบัน โดยเชิญ รมช.กระทรวงศึกษาธิการ นายสัมพันธ์ ทองสมัคร มาเป็นประธานในพิธีเปิด และหลังจากนั้นงานนิทรรศการก็ได้จัดต่อเนื่องกันมาทุกปี บางปีจัดที่สวนหน้าอาคารศิลปะ บางปีจัดที่หอประชุมอนุสรณ์ 70 ปี บางปีจัดที่ห้างสรรพสินค้านอริสท์ซิตี้
ปีการศึกษา 2530 ในสมัย รศ.ดร.ทองคูณ หงศ์พันธุ์ เป็นอธิการบดี ได้เปิดหลักสูตรออกแบบนิเทศศิลป์ ระดับอนุปริญญาศิลปะศาสตร์ (อ.ศศ.) ควบคู่ไปกับวิชาเอกศิลปศึกษาระดับปริญญาตรี 2 ปีหลัง ในปีเดียวกันนี้ อาจารย์พีนาลิน สาริยา ก็ได้ย้ายจากวิทยาลัยครูบุรีรัมย์ เข้ามาประจำภาควิชาอีกคนหนึ่ง
ปี พ.ศ. 2531 รื้ออาคารเก่าวิทยาศาตร์เพื่อนำไม้ไปสร้างเป็นอาคารศิลปะหลังใหม่ติดกับอาคาร 14 และ ปีต่อมาก็ได้อาจารย์บรรจุใหม่มาอีก 1 คน คือ อาจารย์ภักดี ปรีดาศักดิ์ และ อาจารย์สุณี หาญวงษ์ ก็ได้ย้ายจากวิทยาลัยครูลำปางเข้ามาเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาศิลปะเพิ่มอีก รวมภาควิชาศิลปศึกษาในขณะนั้นมีอาจารย์ทั้งสิ้น 8 คน ซึ่งต่อมาอาจารย์มงคล แก้วพวงงาม ได้ย้ายไปอยู่วิทยาลัยครูจันทรเกษม
ปีการศึกษา 2532 ได้เปิดหลักสูตรศิลปศึกษา ระดับปริญญา 4 ปี เป็นครั้งแรก
ปี พ.ศ. 2538 เปิดหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต (ศิลปกรรม : แขนงศิลปะประยุกต์ และ แขนงออกแบบนิเทศศิลป์) และได้บรรจุอาจารย์อีก 2 คนเข้ามาเพิ่มเติม คือ อาจารย์สามารถ จับโจร และ อาจารย์บุญกอง อินตา
ปี พ.ศ. 2541 ภาควิชาศิลปะได้แยกออกเป็นโปรแกรมวิชาต่างๆ 3 โปรแกรมตามหลักสูตรที่เปิดสอน คือ โปรแกรมวิชาศิลปศึกษา โปรแกรมวิชาศิลปกรรม และโปรแกรมวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
ปี พ.ศ. 2545 โปรแกรมวิชาศิลปศึกษามีคณาจารย์รับผิดชอบสอนและบริหารจัดการเป็นหลักจำนวน 4 คน คือ ผศ.ธวัช ตราชู (อาจารย์ประจำ) อาจารย์สมศักดิ์ เหมะรักษ์ (อาจารย์พิเศษตามสัญญา) อาจารย์สักรินทร์ อินทรวงค์ (อาจารย์พิเศษตามสัญญา) และอาจารย์บุศรินทร์ คำหุ่ง (อาจารย์พิเศษตามสัญญา)
ปีการศึกษา 2547 เปิดหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 5 ปี (ศิลปกรรม:ทัศนศิลป์,ดนตรี,นาฏศิลป์) หลักสูตรกลางแบบชุดวิชาที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยเปิดรับนักศึกษาอยู่ 2 ปีการศึกษา
ปีการศึกษา 2549 เปิดหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 5 ปี (ศิลปกรรม:ทัศนศิลป์,ดนตรี,นาฏศิลป์) เป็นหลักสูตรแบบรายวิชา โดยคณะกรรมโปรแกรมวิชาศิลปกรรม(ค.บ.)ได้จัดทำเสนอขออนุมัติ และในปีนี้โปรแกรมวิชาได้ย้ายไปอยู่ที่อาคารศิลปะ 5 ชั้น บริเวณด้านหลังโรงอาหารติดหอพักนักศึกษา ซึ่ง ผศ.ธวัช ตราชู เป็นผู้ร่างแบบนำเสนอขออนุมัติ ใช้เวลาร่วม 4 ปีกว่าจะผ่านการพิจารณาอนุมัติและได้งบประมาณก่อสร้าง โดยเริ่มตั้งแต่สมัย รศ.เชิดชัย โชครัตนชัย จนกระทั่งถึงสมัย ผศ.ดร.เศาวณิต เศานานนท์ เป็นอธิการบดี โปรแกรมวิชาศิลปศึกษามีสำนักงานอยู่ชั้นที่ 4,5 ส่วนชั้นที่ 2 เป็นโปรแกรมวิชาศิลปกรรม และชั้นที่ 3 เป็นโปรแกรมวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ ส่วนอาคารศิลปะเดิมปรับปรุงเป็นอาคารดนตรี
ปีการศึกษา 2550 เปิดหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 5 ปี (ศิลปศึกษา) ซึ่งเป็นหลักสูตรพัฒนาขึ้นมาใหม่ 2549 มีห้องปฏิบัติการ การเรียนการสอนอยู่อาคาร 26 ชั้นที่ 4 และชั้นที่5
ปีการศึกษา 2551 โปรแกรมวิชาศิลปศึกษาดูแล 2 หลักสูตรคือหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 5 ปี (ศิลปศึกษา) และหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 5 ปี (ศิลปกรรม:ทัศนศิลป์ )
ปีการศึกษา 2552 มีบรรจุเป็นพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายสอนตำแหน่งอาจารย์ เพิ่ม1 ท่าน คืออาจารย์ สืบศักดิ์ สิริมงคลกาล
ปีการศึกษา 2553 มีการบรรจุเป็นพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายสอนตำแหน่งอาจารย์ เพิ่ม 2 ท่าน คืออาจารย์ วีรยุทร โพธิ์ศรี และอาจารย์อารยะ มนูญศักดิ์
ปีการศึกษา 2554 มีการบรรจุเป็นพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายสอนตำแหน่งอาจารย์เพิ่ม 2 ท่านคือ อาจารย์เอกอมร ภัทรกิจพงศ์ (พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา), อาจารย์โจม มั่นพลศรี (พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา)
ปีการศึกษา 2555 เปิดหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2555
ปีการศึกษา 2559 บริหารโปรแกรมฯ ในรูปแบบของหลักสูตร โดยใช้ชื่อว่า หลักสูตรสาขาวิชาศิลปศึกษา
ปัจจุบันโปรแกรมวิชาศิลปศึกษามีกรรมการบริหารหลักสูตรฯ จำนวน 8 ท่าน คือ
อาจารย์อารยะ มนูญศักดิ์ ประธานหลักสูตรสาขาวิชาศิลปศึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุศรินทร์ คำหุ่ง รองประธานหลักสูตรสาขาวิชาศิลปศึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัช ตราชู กรรมการ
อาจารย์ ดร.สักรินทร์ อินทรวงค์ กรรมการ
อาจารย์โจม มั่นพลศรี กรรมการ
อาจารย์วีรยุทร โพธิ์ศรี กรรมการ
อาจารย์เอกอมร ภัทรกิจพงศ์ กรรมการ
อาจารย์สืบศักดิ์ สิริมงคลกาล กรรมการและเลขานุการฯ
ประธานหลักสูตร |
|
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชา ศิลปศึกษา (5 ปี)
(หลักสูตร ปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
คณะ คณะครุศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
รหัสหลักสูตร 25481481102944
ภาษาไทย หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Education Program in Art Education
ภาษาไทย ชื่อเต็ม ครุศาสตรบัณฑิต (ศิลปศึกษา)
ชื่อย่อ ค.บ. (ศิลปศึกษา)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม Bachelor of Education (Art Education)
ชื่อย่อ B.Ed. (Art Education)
5.1 รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 5ปี
5.2 ประเภทของหลักสูตร
หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ
5.3 ภาษาที่ใช้
จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย
5.4 การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
5.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
ไม่มี
5.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
บัณฑิตหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา ปฏิบัติงานวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับ ครูศิลปศึกษาในระดับโรงเรียนประถมศึกษาระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา, นักวิชาการด้านการศึกษาหรือด้านศิลปวัฒนธรรม, ศิลปินอิสระ,ช่างศิลป์ในหน่วยงานรัฐหรือบริษัทเอกชน , นักออกแบบในหน่วยงานรัฐหรือบริษัทเอกชน, ธุรกิจส่วนตัว และอาชีพอิสระ
อาคาร 26 หลักสูตรวิชา ศิลปศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ คณะครุศาสตร์ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
อาจารย์ประจำหลักสูตรมี 8 ท่าน
1.ประธานหลักสูตร
อาจารย์อารยะ มนูญศักดิ์
2.รองประธานหลักสูตร
ผศ.บุศรินทร์ คำหุ่ง
3.กรรมการหลักสูตร
ผศ.ดร.ธวัช ตราชู
4.กรรมการหลักสูตร
อาจารย์สืบศักดิ์ สิริมงคลกาล
5.กรรมการหลักสูตร
อาจารย์โจม มั่นผลศรี
6.กรรมการหลักสูตร
อาจารย์เอกอมร ภัทรกิจพงศ์
7.อาจารย์ประจำหลักสูตร
ดร.สักรินทร์ อินทรวงศ์
8.อาจารย์ประจำหลักสูตร
อาจารย์วีรยุทธ โพธิ์ศรี
7.1 ปรัชญา
ครูศิลปศึกษาคือผู้ขับเคลื่อนการศึกษาศิลปะและวัฒนธรรมในประเทศไทย โดยการบูรณาการความรู้ในบริบทปัจจุบันสู่กระบวนการเรียนการสอน การวิจัย การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ และส่งเสริมความรู้นั้นแก่เยาวชน เพื่อพัฒนาศิลปวัฒนธรรมของชาติให้ก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
7.2 ความสำคัญ
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา เป็นหลักสูตรที่ผลิตครูศิลปศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของการศึกษาขั้นพื้นฐาน และความต้องการครูศิลปะในสังคมมาช้านาน แต่จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้หลักสูตรต้องมีการปรับปรุงให้มีความทันสมัยต่อยุคปัจจุบัน ที่รูปแบบงานศิลปะเคลื่อนไหวไปตามกระแสสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจในยุคที่มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่รวดเร็วและเชื่อมถึงกันหมด ส่งผลถึงการหลั่งไหลของรูปแบบงานศิลปะจากต่างประเทศเข้ามาในเมืองไทยอย่างมากมาย ครูศิลปะจึงมีความจำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความรู้รอบด้าน และสามารถนำความรู้นั้นมาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน งานวิจัย ตลอดจนสร้างสรรค์งานศิลปะรูปแบบใหม่ๆ ที่สะท้อนถึงบริบทต่างๆ ที่ตนเองสนใจ และต้องการสื่อสารต่อสาธารณชนได้
7.3 วัตถุประสงค์
เพื่อผลิตบัณฑิตหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังนี้
1 มีความรู้และทักษะในการวางแผนการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การผลิตสื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา และการประเมินผลการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนศิลปศึกษา
2 มีความรู้ความสามารถในการจัดทำหลักสูตรสู่ท้องถิ่น การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนศิลปะ และสามารถบูรณาการความรู้จากกลุ่มสาระอื่นๆ มาจัดการเรียนการสอนศิลปะได้
3 มีทักษะการสร้างสรรค์งานศิลปะ สามารถใช้ทักษะทางศิลปะเพื่อประกอบวิชาชีพครูและ
อาชีพที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ
4 มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลทางศิลปะ จากสื่อการเรียนรู้ต่างๆ และเลือกใช้เทคโนโลยีเพื่อค้นคว้าหาความรู้และนำเสนอผลงานศิลปะได้อย่างเหมาะสม
5 การแสวงหาความรู้ทั้งศาสตร์ทางศิลปะและศาสตร์อื่นๆ เพื่อนำความรู้มาบูรณาการเป็นงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ศิลปะรูปแบบใหม่ ตลอดจนมุ่งมั่นพัฒนาสมรรถนะของตนอยู่เสมอ
6 มีคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณ ในวิชาชีพครู
7 มีความสามารถในการเป็นผู้นำในชุมชน เพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดการพัฒนาชุมชน นำไปสู่การทำนุบำรุง อนุรักษ์ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยและท้องถิ่นได้
ระบบการจัดการศึกษาในหลักสูตร
ระบบทวิภาค 1 ปีการศึกษามี 2 ภาคการศึกษา ได้แก่
- ภาคการศึกษาที่ 1 ตั้งแต่ เดือนสิงหาคม ถึง เดือนธันวาคม
- ภาคการศึกษาที่ 2 ตั้งแต่ เดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม
- ภาคฤดูร้อน ตั้งแต่ เดือนมิถุนายน ถึง เดือนกรกฎาคม
การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2549
1 วันเวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
วันจันทร์-วันศุกร์ เวลาราชการปกติ
2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
2 มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบและประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
3 ปัญหาของนักศึกษาแรกเข้า
1นักศึกษามีพื้นฐานความสามารถทางทฤษฎีและทักษะปฏิบัติศิลปะไม่เท่ากัน
2นักศึกษายังไม่มีทักษะการพูด การบรรยาย และการนำเสนองานศิลปะที่ดี
3นักศึกษาบางคนมีพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องกับบุคลิกภาพความเป็นครู
4 กลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา/ข้อจำกัดของนักศึกษาในข้อ 2.3
1ปฏิบัติงานศิลปะอย่างสม่ำเสมอเพื่อพัฒนาความสามารถทางศิลปะ โดยจัดให้มีห้องปฏิบัติการวาดเส้น สีน้ำ สีน้ำมันตลอดจนห้องปฏิบัติงานประติมากรรม เครื่องปั้นดินเผา ภาพพิมพ์ เป็นต้น
2กำหนดตารางเวลาให้นักศึกษาฝึกฝนความสามารถทางศิลปะเพิ่มเติม
3กำหนดให้แต่ละรายวิชาสอดแทรกความรู้และทักษะทางด้านการพูด บรรยาย และการพัฒนาบุคลิกภาพ เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นครูศิลปะมืออาชีพ
5 แผนการรับนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาในระยะ 5 ปี
- ภาคปกติ ปีละ 30 คน
ระดับชั้นปี | จำนวนนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษา | |||||
2560 | 2561 | 2562 | 2563 | 2564 | 2565 | |
ชั้นปีที่ 1 | 30 | 30 | 30 | 30 | 30 | 30
30 30 30 30 |
ชั้นปีที่ 2 | 30 | 30 | 30 | 30 | ||
ชั้นปีที่ 3 | 30 | 30 | 30 | |||
ชั้นปีที่ 4 | 30 | 30 | ||||
ชั้นปีที่ 5 | 30 | |||||
รวมจำนวนนักศึกษา | 30 | 60 | 90 | 120 | 150 | 180 |
จำนวนบัณฑิตที่คาดว่า
จะสำเร็จการศึกษา |
- | - | - | - | - | 30 |
6 ระบบการศึกษา
ใช้ระบบชั้นเรียน
7 การเทียบโอนหน่วยกิต รายวิชา และการลงทะเบียนข้ามหาวิทยาลัย
1การเทียบโอนหน่วยกิตและรายวิชาระหว่างหลักสูตรในมหาวิทยาลัยจะต้องได้รับการอนุมัติจากประธานหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย และคณบดีคณะครุศาสตร์
2การเทียบโอนผลการเรียน หน่วยกิต รายวิชาเปิดให้เฉพาะหลักสูตรที่ดำเนินการตามมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชาศิลปศึกษา โดยต้องเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ว่าด้วยการโอนผลการเรียน การเทียบโอนผลการเรียน และการเทียบโอนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ เข้าสู่การศึกษาในระบบ ระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2550 และระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ว่าด้วย การโอนผลการเรียน การเทียบโอนผลการเรียน และการเทียบโอนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ เข้าสู่การศึกษาในระบบ ระดับปริญญาตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
10.หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน
1 หลักสูตร
หลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา ใช้ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษาไม่เกิน5 ปี
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 176 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชาภาษา 9-12 หน่วยกิต
2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 6-9 หน่วยกิต
3) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 3-6 หน่วยกิต 4) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 6-9 หน่วยกิต
5) กลุ่มวิชาการบริหารจัดการ 3 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 140 หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชาชีพครู 54 หน่วยกิต
1.1) บังคับวิชาชีพครู 34 หน่วยกิต
1.2) เลือกวิชาชีพครู 2 หน่วยกิต
1.3) ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 18 หน่วยกิต
2) กลุ่มวิชาเอก 86 หน่วยกิต
2.1) บังคับวิชาเอก 70 หน่วยกิต
2.2) เลือกวิชาเอก 6 หน่วยกิต
2.3) วิชาการสอนวิชาเอก 6 หน่วยกิต
2.4) เลือกวิชาเอกหรือเลือกจากกลุ่มวิชาเอกเพิ่มเติม 4 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
รายวิชาในหลักสูตร
1) ความหมายของเลขประจำวิชา
- หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
เลขประจำวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ประกอบด้วยเลข 6 หลัก มีความหมาย ดังนี้
ลำดับเลขตำแหน่งที่ 1 หมายถึง หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ใช้เลข 0 เป็นเลขของหมวดวิชา
ลำดับเลขตำแหน่งที่ 2-3 หมายถึง กลุ่มวิชาของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
เลข 01 หมายถึง กลุ่มวิชาภาษา
เลข 02 หมายถึง กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
เลข 03 หมายถึง กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
เลข 04 หมายถึง กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เลข 05 หมายถึง กลุ่มวิชาการบริหารจัดการ
ลำดับเลขตำแหน่งที่ 4-6 หมายถึง ลำดับรายวิชาในกลุ่มวิชา
- หมวดวิชาเฉพาะรายวิชาในหลักสูตร
2) ความหมายของเลขประจำวิชา
- หมวดวิชาเฉพาะด้าน
กลุ่มวิชาชีพครู ประกอบด้วยตัวเลข 6 หลัก มีความหมายดังนี้
ลำดับเลขตำแหน่งที่ 1-3 ของกลุ่มวิชาชีพครู มีรายละเอียดตามสาขาวิชาที่รับผิดชอบดังนี้
เลข 101 หมายถึง หมู่วิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
เลข102 หมายถึง สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
เลข 103 หมายถึง สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา
เลข 104 หมายถึง สาขาวิชาการวิจัย และประเมินการศึกษา
เลข 105 หมายถึง สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว
เลข 106 หมายถึง สาขาวิชาบริหารการศึกษา
เลข 107 หมายถึง สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
เลข 108 หมายถึง สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ
เลข 109 หมายถึง สาขาวิชาพลศึกษา
เลข 112 หมายถึง คณะครุศาสตร์
ลำดับเลขตำแหน่งที่ 4 หมายถึง ชั้นปีหรือความยาก
เลข 1 หมายถึง ชั้นปีที่ 1 หรือความยากของวิชาลำดับที่ 1
เลข 2 หมายถึง ชั้นปีที่ 2 หรือความยากของวิชาลำดับที่ 2
เลข 3 หมายถึง ชั้นปีที่ 3 หรือความยากของวิชาลำดับที่ 3
เลข 4 หมายถึง ชั้นปีที่ 4 หรือความยากของวิชาลำดับที่ 4
เลข 5 หมายถึง ชั้นปีที่ 5 หรือความยากของวิชาลำดับที่ 5
ลำดับเลขตำแหน่งที่ 5 หมายถึง กลุ่มวิชาชีพครู
ใช้เลข 0 เป็นเลขของกลุ่มวิชาชีพครู
ลำดับเลขตำแหน่งที่ 6 หมายถึง ลำดับของวิชา
เลขประจำวิชาในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา ประกอบด้วยเลข 6 หลัก
มีความหมายดังนี้
ลำดับเลขตำแหน่งที่ 1-3 ของสาขาวิชาศิลปศึกษา คือ 203
ลำดับเลขตำแหน่งที่ 4 หมายถึง ชั้นปีหรือความยาก
เลข 1 หมายถึง ชั้นปีที่ 1 หรือความยากของวิชาลำดับที่ 1
เลข 2 หมายถึง ชั้นปีที่ 2 หรือความยากของวิชาลำดับที่ 2
เลข 3 หมายถึง ชั้นปีที่ 3 หรือความยากของวิชาลำดับที่ 3
เลข 4 หมายถึง ชั้นปีที่ 4 หรือความยากของวิชาลำดับที่ 4
เลข 5 หมายถึง ชั้นปีที่ 5 หรือความยากของวิชาลำดับที่ 5
ลำดับเลขตำแหน่งที่ 5 หมายถึง กลุ่มย่อยของสาขาวิชา
เลข 0 หมายถึง กลุ่มวิชาพื้นฐานทางศิลปะ
เลข 1 หมายถึง กลุ่มวิชาความเข้าใจในศิลปะ
เลข 2 หมายถึง กลุ่มวิชาจิตรกรรม
เลข 3 หมายถึง กลุ่มวิชาประติมากรรมและเครื่องปั้นดินเผา
เลข 4 หมายถึง กลุ่มวิชาภาพพิมพ์
เลข 5 หมายถึง กลุ่มวิชาสื่อและนวัตกรรม
เลข 6 หมายถึง กลุ่มวิชาออกแบบ
เลข 7 หมายถึง กลุ่มวิชาศิลปะประจำชาติ
เลข 8 หมายถึง กลุ่มวิชาปรัชญา
เลข 9 หมายถึง กลุ่มวิชาศิลปศึกษา
ลำดับเลขตำแหน่งที่ 6 หมายถึง ลำดับของวิชาในกลุ่มย่อย
รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา มีรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ต้องเรียนทุกกลุ่มวิชา รวมไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาภาษา ไม่น้อยกว่า 9-12 หน่วยกิต
บังคับ เรียน 9 หน่วยกิต 001001 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 3(3-0-6)
001002 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1 3(3-0-6)
001003 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2 3(3-0-6)
เลือก เรียน 0-3 หน่วยกิต
001004 ภาษาไทยเพื่องานอาชีพ 3(3-0-6)
001005 ความงดงามทางภาษาไทย 3(3-0-6)
001006 ภาษาอังกฤษเพื่องานอาชีพ 3(3-0-6)
001007 ภาษาจีนกลางพื้นฐาน 3(3-0-6)
001008 ภาษาญี่ปุ่นพื้นฐาน 3(3-0-6)
001009 ภาษาเขมรพื้นฐาน 3(3-0-6)
001010 ภาษาฮินดีพื้นฐาน 3(3-0-6)
001011 ภาษาฝรั่งเศสพื้นฐาน 3(3-0-6)
001012 ภาษาลาวพื้นฐาน 3(3-0-6)
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 6-9 หน่วยกิต
บังคับ เรียน 6 หน่วยกิต
002001 วิถีแห่งชีวิต 3(3-0-6)
002002 ท้องถิ่นไทย 3(3-0-6)
เลือก เรียน 0-3 หน่วยกิต
002003 จิตวิทยาเพื่อการดำเนินชีวิต 3(3-0-6)
002004 มนุษย์กับสุนทรียภาพ 3(3-0-6)
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 3-6 หน่วยกิต
บังคับ เรียน 3 หน่วยกิต
003001 การเป็นพลเมือง 3(3-0-6)
เลือก เรียน 0-3 หน่วยกิต
003002 สังคมโลกอนาคต 3(3-0-6)
003003 มนุษย์กับอารยธรรม 3(3-0-6)
003004 อาเซียนศึกษา 3(3-0-6)
003005 กฎหมายในการดำรงชีวิต 3(3-0-6)
003006 แหล่งและวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3(3-0-6)
กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ไม่น้อยกว่า 6-9 หน่วยกิต
บังคับ เรียน 6 หน่วยกิต
004001 เทคโนโลยีสารสนเทศ 3(2-2-5)
004002 การคิดเชิงระบบและการตัดสินใจ 3(3-0-6)
เลือก เรียน 0-3 หน่วยกิต
004003 การส่งเสริมสุขภาพและการออกกำลังกาย 3(2-2-5)
004004 สิ่งแวดล้อมและพลังงานเพื่อความยั่งยืนแห่งชีวิต 3(3-0-6)
004005 อาหารเพื่อชีวิต 3(3-0-6)
004006 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน 3(3-0-6)
กลุ่มวิชาการบริหารจัดการ ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต
เลือก เรียน 3 หน่วยกิต
005001 การเป็นผู้ประกอบการสมัยใหม่ 3(3-0-6)
005002 เศรษฐกิจกับวิถีชีวิต 3(3-0-6)
005003 การจัดการตนเองเพื่อการพัฒนางาน 3(3-0-6)
ข. หมวดวิชาเฉพาะด้าน เรียนไม่น้อยกว่า 140 หน่วยกิต
วิชาชีพครู ไม่น้อยกว่า 54 หน่วยกิต
วิชาบังคับ เรียน 34 หน่วยกิต
102201 | การพัฒนาหลักสูตร | 3(2-2-5) |
102302 | การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ | 3(2-2-5) |
103101 | เทคโนโลยีการศึกษา | 2(1-2-3) |
103102 | นวัตกรรมการศึกษา | 2(1-2-3) |
104201 | การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ | 3(2-2-5) |
104302 | การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ | 3(2-2-5) |
105401 | จิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว | 2(1-2-3) |
105302 | จิตวิทยาการศึกษา | 3(2-2-5) |
106101 | ความเป็นครู | 3(2-2-5) |
106102 | การศึกษาไทย | 2 (1-2-3) |
106203 | การบริหารจัดการทางการศึกษา | 2 (1-2-3) |
108301
112103 |
การศึกษาแบบเรียนรวม
ภาษาและวัฒนธรรมสำหรับครู |
3(2-2-5)
3(2-2-5) |
วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 2 หน่วยกิต
102304 | ทักษะและเทคนิคการสอน | 2(1-2-3) |
102405 | หลักสูตรและการเรียนการสอนของประเทศในกลุ่มอาเซียน | 2(2-0-4) |
103203 | การออกแบบและพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้ | 3(2-2-5) |
103304 | การผลิตวีดิทัศน์การศึกษาโดยใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ | 2(1-2-3) |
103205 | การใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ในชั้นเรียน | 2(1-2-3) |
103206 | การผลิตหนังสือการ์ตูนดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์เพื่อการศึกษา | 2(1-2-3) |
104303 | โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัย | 3(2-2-5) |
104404 | การประเมินทางการศึกษา | 3(2-2-5) |
105203 | จิตวิทยาการเรียนรู้ | 2(1-2-3) |
105204 | การปรับพฤติกรรม | 2(1-2-3) |
105205 | ทฤษฎีและปฏิบัติทางจิตวิทยาสังคม | 2(1-2-3) |
106204 | มารยาททางสังคมสำหรับครู | 2(1-2-3) |
106205 | การศึกษากับการพัฒนาชุมชน | 2(1-2-3) |
106406 | กฎหมายการศึกษา | 3(3-0-6) |
108202 | เทคนิคการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ | 2(1-2-3) |
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เรียน 18 หน่วยกิต
101201 | การฝึกปฏิบัติวิชาชีพครูระหว่างเรียน 1 | 1(0-2-1) |
101202 | การฝึกปฏิบัติวิชาชีพครูระหว่างเรียน 2 | 1(0-2-1) |
101303 | การฝึกปฏิบัติวิชาชีพครูระหว่างเรียน 3 | 1(0-2-1) |
101304 | การฝึกปฏิบัติวิชาชีพครูระหว่างเรียน 4 | 1(0-2-1) |
101405 | การฝึกปฏิบัติวิชาชีพครูระหว่างเรียน 5 | 1(0-2-1) |
101406 | การฝึกปฏิบัติวิชาชีพครูระหว่างเรียน 6 | 1(0-2-1) |
101501 | การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 | 6(0-360-0) |
101502 | การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2 | 6(0-360-0) |
กลุ่มวิชาเอก ครุศาสตรบัณฑิต สาขาศิลปศึกษา จัดการเรียนการสอนเป็นแบบเอกเดี่ยว
แบบเอกเดี่ยว เรียนกลุ่มวิชาเอก ไม่น้อยกว่า 86 หน่วยกิต
บังคับวิชาเอก เรียน70 หน่วยกิต
203101 องค์ประกอบศิลป์ 3(1-4-4)
203102 วาดเส้นเบื้องต้น 3(1-4-4)
203103 ทฤษฎีสี 3(1-4-4)
203111 ประวัติศาสตร์ศิลป์สากล 3(2-2-5)
203141 ภาพพิมพ์เบื้องต้น 3(1-4-4)
203161 ออกแบบเบื้องต้น 3(1-4-4)
203171 ศิลปะไทย 3(1-4-4)
203201 เขียนแบบเบื้องต้น 3(1-4-4)
203202 วาดเส้นสร้างสรรค์ 3(1-4-4)
203211 ประวัติศาสตร์ศิลป์ไทย 3(2-2-5)
203221 การวาดกายวิภาค 3(1-4-4)
203222 จิตรกรรมเบื้องต้น 3(1-4-4)
203231 ประติมากรรมเบื้องต้น 3(1-4-4)
203301 เทคนิคสื่อผสม 3(1-4-4)
203321 จิตรกรรมสีน้ำ 3(1-4-4)
203322 จิตรกรรมสีน้ำมัน 3(1-4-4)
203361 ออกแบบกราฟิก 3(1-4-4)
203362 ออกแบบผลิตภัณฑ์ 3(1-4-4)
203272 ศิลปะอีสาน 3(1-4-4)
203481 ศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัย 3(2-2-5)
203482 สุนทรียศาสตร์และศิลปวิจารณ์ 3(2-2-5)
203492 ศิลปศึกษานิพนธ์ 1 3(1-4-4)
203493 ศิลปศึกษานิพนธ์ 2 4(2-4-6)
เลือกวิชาเอก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
203204 องค์ประกอบศิลป์สร้างสรรค์ 3(1-4-4)
203225 การเขียนภาพทิวทัศน์ 3(1-4-4)
203232 ประติมากรรมสากล 3(1-4-4)
203241 ภาพพิมพ์แกะไม้ 3(1-4-4)
203271 ศิลปะพื้นบ้าน 3(2-2-5)
203291 ศิลปะสำหรับครูประถมศึกษา 3(1-4-4)
203292 ศิลปะสำหรับครูมัธยมศึกษา 3(1-4-4)
203293 ดนตรีสำหรับครู 3(1-4-4)
203294 นาฏศิลป์สำหรับครู 3(1-4-4)
203295 ดนตรีและนาฏศิลป์สำหรับครูศิลปะ 3(1-4-4)
203312 การนำเสนอผลงานศิลปะ 3(1-4-4)
203313 ค่ายศิลปะ 3(1-4-4)
203323 การเขียนภาพคนภาพสัตว์ 3(1-4-4)
203324 จิตรกรรมไทย 3(1-4-4)
203331 ประติมากรรมไทย 3(1-4-4)
203332 เครื่องปั้นดินเผาเบื้องต้น 3(1-4-4)
203333 ออกแบบเครื่องปั้นดินเผา 3(1-4-4)
203341 ภาพพิมพ์โลหะ 3(1-4-4)
203342 การพิมพ์ซิลค์สกรีน 3(1-4-4)
203343 ภาพพิมพ์สร้างสรรค์ 3(1-4-4)
203351 คอมพิวเตอร์กราฟิก 3(1-4-4)
203352 การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ 3(1-4-4)
203353 การสร้างสื่อประกอบการเรียนรู้สำหรับเด็ก 3(1-4-4)
203363 ออกแบบพาณิชย์ศิลป์ 3(1-4-4)
203364 ออกแบบอุตสาหกรรมศิลป์ 3(1-4-4)
203365 ออกแบบตกแต่งภายใน 3(1-4-4)
203366 ออกแบบเครื่องเรือน 3(1-4-4)
203367 ออกแบบโฆษณา 3(1-4-4)
203372 ศิลปหัตถกรรมไทย 3(1-4-4)
203373 ศิลปะลุ่มแม่น้ำโขง 3(2-2-5)
203374 ศิลปะอาเซียน 3(2-2-5)
203381 ปรัชญาศิลปะ 3(2-2-5)
203411 การจัดนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์ศิลปะ 3(1-4-4)
203412 ศิลปะเพื่อชุมชน 3(1-4-4)
203413 ศิลปะบำบัด 3(1-4-4)
203421 จิตรกรรมสร้างสรรค์ 3(1-4-4)
203422 บาติก 3(1-4-4)
203431 ประติมากรรมสร้างสรรค์ 3(1-4-4)
203432 เครื่องปั้นดินเผาสร้างสรรค์ 3(1-4-4)
203433 เครื่องเคลือบปั้นดินเผา 3(1-4-4)
203451 การเขียนภาพประกอบ 3(1-4-4)
203452 การถ่ายภาพ 3(1-4-4)
203491 สัมมนาศิลปศึกษา 3(2-2-5)
203494 วิจัยทางศิลปศึกษา 3(2-2-5)
วิชาการสอนวิชาเอก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
203391 การจัดการเรียนการสอนศิลปศึกษา 1 3(2-2-5)
203392 การจัดการเรียนการสอนศิลปศึกษา 2 3(2-2-5)
เลือกจากกลุ่มวิชาเอกเพิ่มเติม ไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต
ให้เลือกเรียนรายวิชาจากกลุ่มเลือกวิชาเอก โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคย
เรียนมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
ให้เลือกเรียนรายวิชาใดๆในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาโดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตรของสาขาวิชานี้
แผนการศึกษา
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
หมวดวิชา | รหัสและชื่อวิชา | หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
ศึกษาทั่วไป | xxxxxx วิชาที่ 1 | 3(x-x-x) |
xxxxxx วิชาที่ 2 | 3(x-x-x) | |
xxxxxx วิชาที่ 3 | 3(x-x-x) | |
วิชาเฉพาะ
บังคับวิชาเอก |
203101 องค์ประกอบศิลป์ | 3(1-4-4) |
203102 วาดเส้นเบื้องต้น | 3(1-4-4) | |
203103 ทฤษฎีสี | 3(1-4-4) | |
บังคับวิชาชีพครู | 106101 ความเป็นครู | 3(2-2-5) |
รวม | 21(x-x-x) |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
หมวดวิชา | รหัสและชื่อวิชา | หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
ศึกษาทั่วไป | xxxxxx วิชาที่ 4 | 3(x-x-x) |
xxxxxx วิชาที่ 5 | 3(x-x-x) | |
วิชาเฉพาะ
บังคับวิชาเอก |
203111 ประวัติศาสตร์ศิลป์สากล | 3(2-2-5) |
203141 ภาพพิมพ์เบื้องต้น | 3(1-4-4) | |
203161 ออกแบบเบื้องต้น | 3(1-4-4) | |
บังคับวิชาชีพครู | 106102 การศึกษาไทย
112103 ภาษาและวัฒนธรรมสำหรับครู |
2(1-2-3)
3(2-2-5) |
รวม | 20(x-x-x) |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
หมวดวิชา | รหัสและชื่อวิชา | หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
ศึกษาทั่วไป | xxxxxx วิชาที่ 6 | 3(x-x-x) |
วิชาเฉพาะ
บังคับวิชาเอก |
203222 จิตรกรรมเบื้องต้น | 3(1-4-4) |
203231 ประติมากรรมเบื้องต้น | 3(1-4-4) | |
203221 การวาดกายวิภาค | 3(1-4-4) | |
เลือกวิชาเอก | 203xxx วิชาที่ 1 | 3(x-x-x) |
บังคับวิชาชีพครู | 102201 การพัฒนาหลักสูตร
106203 การบริหารจัดการทางการศึกษา |
3(2-2-5)
2(1-2-3) |
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู | 101201 การฝึกปฏิบัติวิชาชีพครูระหว่างเรียน 1 | 1(0-2-1)
|
รวม | 21(x-x-x) |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
หมวดวิชา | รหัสและชื่อวิชา | หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
ศึกษาทั่วไป | xxxxxx วิชาที่ 7น็น | 3(x-x-x) |
วิชาเฉพาะ
บังคับวิชาเอก |
203201 เขียนแบบเบื้องต้น | 3(1-4-4) |
203171 ศิลปะไทย | 3(1-4-4) | |
203211 ประวัติศาสตร์ศิลป์ไทย | 3(2-2-5) | |
203361 ออกแบบกราฟิก | 3(1-4-4) | |
เลือกวิชาเอก | 203xxx วิชาที่ 2 | 3(x-x-x) |
บังคับวิชาชีพครู | 104201 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ | 3(2-2-5) |
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู | 101202 การฝึกปฏิบัติวิชาชีพครูระหว่างเรียน 2
|
1(0-2-1)
|
รวม | 22(x-x-x) |
ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1
หมวดวิชา | รหัสและชื่อวิชา | หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
ศึกษาทั่วไป | xxxxxx วิชาที่ 8 | 3(x-x-x) |
xxxxxx วิชาที่ 9 | 3(x-x-x) | |
วิชาเฉพาะ
บังคับวิชาเอก |
203321 จิตรกรรมสีน้ำ | 3(1-4-4) |
การสอนวิชาเอก | 203391 การจัดการเรียนการสอนศิลปศึกษา 1 | 3(2-2-5) |
บังคับวิชาชีพครู | 103101 เทคโนโลยีการศึกษา | 2(1-2-3) |
105302 จิตวิทยาการศึกษา | 3(2-2-5) | |
102302 การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ | 3(2-2-5) | |
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู | 101203 การฝึกปฏิบัติวิชาชีพครูระหว่างเรียน 3
|
1(0-2-1)
|
รวม | 21(x-x-x) |
ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2
หมวดวิชา | รหัสและชื่อวิชา | หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
ศึกษาทั่วไป | xxxxxx วิชาที่ 10 | 3(x-x-x) |
วิชาเฉพาะ
บังคับวิชาเอก |
203322 จิตรกรรมสีน้ำมัน | 3(1-4-4) |
203362 ออกแบบผลิตภัณฑ์ | 3(1-4-4) | |
การสอนวิชาเอก | 203392 การจัดการเรียนการสอนศิลปศึกษา 2 | 3(2-2-5) |
บังคับวิชาชีพครู | 103102 นวัตกรรมการศึกษา | 2(1-2-3) |
108301 การศึกษาแบบเรียนรวม | 3(2-2-5) | |
104302 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ | 3(2-2-5) | |
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู | 101204 การฝึกปฏิบัติวิชาชีพครูระหว่างเรียน 4
|
1(0-2-1)
|
รวม | 21(x-x-x) |
ปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1
หมวดวิชา | รหัสและชื่อวิชา | หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
วิชาเฉพาะ
บังคับวิชาเอก |
203482 สุนทรียศาสตร์และศิลปวิจารณ์ | 3(2-2-5) |
203492 ศิลปศึกษานิพนธ์ 1 | 3(1-4-4) | |
203301 เทคนิคสื่อผสม | 3(1-4-4) | |
203481 ศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัย | 3(2-2-5) | |
วิชาเอกเลือกเพิ่มเติม | 203xxx วิชาที่ 1 | 3(x-x-x) |
บังคับวิชาชีพครู | 105401 จิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว | 2(1-2-3) |
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู | 101205 การฝึกปฏิบัติวิชาชีพครูระหว่างเรียน 5
|
1(0-2-1) |
เลือกเสรี | xxxxxx วิชาที่ 1 | 3(x-x-x) |
รวม | 21(x-x-x) |
ปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2
หมวดวิชา | รหัสและชื่อวิชา | หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
วิชาเฉพาะ
บังคับวิชาเอก |
203272 ศิลปะอีสาน | 3(2-2-5) |
203202 วาดเส้นสร้างสรรค์
203493 ศิลปศึกษานิพนธ์ 2 |
3(1-4-4)
4(2-4-4) |
|
วิชาเอกเลือกเพิ่มเติม | 203xxx วิชาที่ 2 | 3(x-x-x) |
เลือกวิชาชีพครู | xxxxxx วิชาที่ 1 | 2(x-x-x) |
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู | 101206 การฝึกปฏิบัติวิชาชีพครูระหว่างเรียน 6 | 1(0-2-1) |
เลือกเสรี | xxxxxx วิชาที่ 2 | 3(x-x-x) |
รวม | 21(x-x-x) |
ปีที่ 5 ภาคการศึกษาที่ 1
หมวดวิชา | รหัสและชื่อวิชา | หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู | 101521 การปฏิบัติการทางวิชาชีพครู 1 | 6(0-360-0) |
รวม | 6(0-360-0) |
ปีที่ 5 ภาคการศึกษาที่ 2
หมวดวิชา | รหัสและชื่อวิชา | หน่วยกิต
(ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู | 101522 การปฏิบัติการทางวิชาชีพครู 2 | 6(0-360-0) |
รวม | 6(0-360-0) |
สาขาวิชาศิลปศึกษา อาคาร 26
Telephone : 044 009 009 # 2640 , 2650
Facebook : https://www.facebook.com/ArtEDNRRU/