ประวัติความเป็นมา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จัดตั้งเป็นคณะวิชาเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2518 ตามหลักสูตรการฝึกหัดครู ซึ่งได้ยกฐานะวิทยาลัยครู เป็นสถาบันอุดมศึกษา สอนนักศึกษาในระดับปริญญาตรีตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ.2518 และทำการสอนวิชาชีพอื่นนอกเหนือจากวิชาชีพครู ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2527 (ฉบับปรับปรุงแก้ไข) วิทยาลัยครูนครราชสีมา เปลี่ยนเป็นสถาบันราชภัฏนครราชสีมา ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ซึ่งทำให้สามารถเปิดสอนนักศึกษาในระดับที่สูงกว่าระดับปริญญาตรี ขณะเดียวกัน คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ก็ได้ปรับเปลี่ยนเป็นคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการบริหารงานแบบภาควิชา ประกอบด้วย ภาควิชา 11 ภาควิชา คือ
- ภาควิชาภาษาไทย
- ภาควิชาดนตรี
- ภาควิชาภาษาต่างประเทศ
- ภาควิชานาฏศิลป์
- ภาควิชาภูมิศาสตร์
- ภาควิชาสังคมวิทยา
- ภาควิชาประวัติศาสตร์
- ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
- ภาควิชาศิลปะ
- ภาควิชาปรัชญาและศาสนา
- ภาควิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
ในช่วงเวลาที่มีการบริหารงานโดยภาควิชา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีภารกิจ ที่สำคัญในการผลิตบัณฑิตของสถาบัน ดังนี้
- สอนวิชาพื้นฐานในกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ เพื่อสร้างความเป็นมนุษย์ เสริมสร้างการเรียนรู้ในการปรับตนให้ทันต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมมีวิธีการศึกษาหาความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
- ผลิตบัณฑิตสาขาศิลปศาสตร์ ในโปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน ออกแบบนิเทศศิลป์ ออกแบบประยุกต์ศิลป์ บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาอังกฤษธุรกิจ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน นาฏศิลป์
- ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาร่วมกับคณะครุศาสตร์ ในโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สังคมศึกษา ศิลปศึกษา นาฏศิลป์ ดนตรีศึกษา ศิลปกรรม
- ผลิตบัณฑิตสาขานิติศาสตร์
ในเดือนสิงหาคม 2541 สถาบันมีนโยบายเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารทางด้านวิชาการภายในคณะ จากการบริหารแบบภาควิชาไปเป็นแบบโปรแกรมวิชา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จึงได้จัดให้มีการประชุม และศึกษาดูงานในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐและสถาบันราชภัฏที่มีการริเริ่มการบริหารงานแบบโปรแกรมวิชาในหลายสถาบัน หลังจากนั้นได้แต่งตั้งกรรมการบริหารคณะ และกรรมการบริหารโปรแกรมวิชา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตามคำสั่งสถาบันราชภัฏนครราชสีมา ที่ 478/2542 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2542 จึงมีผลทำให้การบริหารคณะเปลี่ยนแปลงไปสู่การบริหารคณะแบบโปรแกรมวิชา อาจารย์ผู้สอนทุกคนสังกัดคณะ ทำหน้าที่สอนในรายวิชาต่างๆ ตามความถนัด ความรู้ ความสามารถของแต่ละบุคคล ในโปรแกรมวิชาจะมีกรรมการบริหารโปรแกรมวิชาประกอบด้วยประธาน โปรแกรมวิชาและกรรมการ จำนวน 5-7 คน ทำหน้าที่รับผิดชอบการผลิตบัณฑิตที่สังกัดโปรแกรมวิชานั้นๆ และในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 สถาบันราชภัฏนครราชสีมาได้เปลี่ยนแปลงเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ต่อมาในปีการศึกษา 2548 ได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร ส่งผลให้โปรแกรมวิชาในสังกัดของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีทั้งสิ้น 15 โปรแกรมวิชา และ 1 กลุ่มวิชา คือ
- โปรแกรมวิชาภาษาไทย เปิดสอน 2 หลักสูตร คือ ครุศาสตรบัณฑิต 5 ปี สาขาวิชาภาษาไทย และศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
- โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ เปิดสอน 3 หลักสูตร คือ ภาษาอังกฤษ
- ครุศาสตรบัณฑิต 5 ปี
- และศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษและอังกฤษธุรกิจ
- โปรแกรมวิชาภาษาญี่ปุ่น เปิดสอน 1 หลักสูตร คือ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
- โปรแกรมวิชาภาษาจีน เปิดสอน 1 หลักสูตร คือ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน
- โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ เปิดสอน 1 หลักสูตร คือ
- ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
- โปรแกรมวิชานิติศาสตร์ เปิดสอน 1 หลักสูตร คือ นิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์
- โปรแกรมวิชาดนตรีศึกษา เปิดสอน 1 หลักสูตร คือ ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา
- โปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน เปิดสอน 1 หลักสูตร คือ หลักสูตร
- ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม
- โปรแกรมวิชาทัศนศิลป์ เปิดสอน 1 หลักสูตร คือ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์
- โปรแกรมวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ เปิดสอน 1 หลักสูตร คือ
- ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
- โปรแกรมวิชาศิลปศึกษา เปิดสอน 1 หลักสูตร คือ ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา
- โปรแกรมวิชานาฏศิลป์ เปิดสอน 1 หลักสูตร คือ ครุศาสตรบัณฑิต
- สาขาวิชานาฏศิลป์
- โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ เปิดสอน 1 หลักสูตร คือ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
- โปรแกรมวิชาปรัชญา ศาสนาและเทววิทยา เปิดสอน 1 หลักสูตร คือ
- ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา
- โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา เปิดสอน 1 หลักสูตร คือ ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา
- กลุ่มวิชาภาษาฝรั่งเศส