หลักสูตรนาฏศิลป์ไทย

วันที่เผยแพร่ 23 พฤษภาคม 2562
ผู้เผยแพร่ admin

ประธานหลักสูตร

 

 

 

 

วันที่เผยแพร่ 23 พฤษภาคม 2562
ผู้เผยแพร่ admin

ข้อมูลทั่วไป

รหัสและชื่อหลักสูตร

          รหัสหลักสูตร     25551481101322

          ภาษาไทย        หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย

          ภาษาอังกฤษ     Bachelor of Education Program in Thai Classical Dance

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

          ภาษาไทย        ชื่อเต็ม    ครุศาสตรบัณฑิต (นาฏศิลป์ไทย)

                              ชื่อย่อ     ค.บ. (นาฏศิลป์ไทย)

          ภาษาอังกฤษ     ชื่อเต็ม    Bachelor of Education (Thai Classical Dance)

                              ชื่อย่อ     B.Ed. (Thai Classical Dance)

วิชาเอก

-

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

ไม่น้อยกว่า 140 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

รูปแบบ

หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี

ประเภทของหลักสูตร

 หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ

ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

         ปรัชญา

          ผลิตครูนาฏศิลป์ไทยที่มีคุณภาพสูง มีความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ น้อมนำศาสตร์พระราชาไปปฏิบัติตน ปฏิบัติงาน เก่งวิชาการ เก่งภาษา เก่งสอน มีจิตวิญญาณความเป็นครู รู้ท้องถิ่น สามารถบูรณาการความรู้ ทักษะปฏิบัติด้านนาฏศิลป์ไทย เจตคติ คุณธรรม และจริยธรรมแห่งวิชาชีพไปสู่เยาวชน อยู่ร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และสามารถเผชิญปัญหาหรือวิกฤติได้ด้วยสติปัญญา

ความสำคัญ

         ปัจจุบันอาชีพครูถือว่าสำคัญยิ่ง เพราะครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญมั่นคง ให้ก้าวทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน แต่ก่อนที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญได้นั้น จะต้องพัฒนาคน ซึ่งได้แก่ เยาวชนของชาติเสียก่อน เพื่อให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพและมีความสมบูรณ์ครบทุกด้าน จึงสามารถช่วยกันสร้างความเจริญให้แก่ชาติต่อไปได้ และหน้าที่ที่มีความสำคัญยิ่งของครูก็คือ การปลูกฝังความรู้ ความคิดและจิตใจให้ตระหนักห่วงแหนศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ เพื่อให้เยาวชนได้สำนึกรักถิ่นฐาน ภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้าน ประเพณีท้องถิ่นของตนเอง เพื่อให้เติบโตขึ้นเป็นพลเมืองที่ดีและมีประสิทธิภาพของประเทศชาติในกาลข้างหน้า ผู้เป็นครูจึงจัดได้ว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างสำคัญในการสร้างสรรค์อนาคตของชาติบ้านเมืองหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย เป็นสาขาวิชาที่รักษารากเหง้าของชาติ ศิลปะและวัฒนธรรม อันเป็นศิลปะวิทยาการที่มุ่งพัฒนาความพร้อมทางด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญาและสังคม พัฒนาครูให้มีภูมิความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย หรือสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิตในสาขาวิชานาฏศิลป์ โดยเชื่อมโยงกับวิชาการการสร้างความเป็นครูในวิชาเอก พลวัตการสอน การจัดการความรู้ การจัดการเรียนรู้สู่การสร้างสรรค์ผลงานนวัตศิลป์สู่ศาสตร์การสอน โดยเชื่อมโยงบูรณาการกับศาสตร์ต่างๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ สาขาวิชานี้เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาอื่นที่เรียกชื่อต่างกัน เช่น นาฏศิลป์ศึกษา นาฏศิลป์ไทยศึกษา นาฏศิลป์สากล นาฏศิลป์สากลศึกษา ศิลปะการแสดงศึกษา เป็นต้น

วัตถุประสงค์

       เพื่อผลิตบัณฑิต หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้

มีค่านิยมร่วม ตระหนักและยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการทำงานของครู การพัฒนาความรู้สึกถึงตัวตนความเป็นครู มีความตระหนักซาบซึ้งในศิลปวัฒนธรรมของชาติ และมีเจตคติต่อวิชาชีพครูที่เข้มแข็ง มีจิตบริการต่อวิชาชีพครูและชุมชน

เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม ยึดมั่นในวิชาชีพครู มีจิตวิญญาณครูและยึดมั่นในจรรยาบรรณของวิชาชีพครู ปฏิบัติหน้าที่ตามอุดมการณ์ความเป็นครูด้วยความรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ อุทิศตนและทุ่มเทในการเอาใจใส่ สร้างแรงบันดาลใจ พัฒนาการเรียนรู้และผลประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน มีความพอเพียงและประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งมีคุณลักษณะเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพครูตามที่คุรุสภากำหนด

เป็นผู้เรียนรู้และฉลาดรู้ และมีปัญญา เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดขั้นสูง มีความรอบรู้ในศาสตร์สาขาวิชาชีพทางนาฏศิลป์ไทย สุนทรียภาพ วัฒนธรรม รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก การสร้างสัมมาชีพและความมั่นคงในคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม มีความเพียร มุ่งมั่น มานะ บากบั่น ใฝ่เรียนรู้ มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต และพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลที่เรียนรู้และรอบรู้ ทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม เป็นผู้มีทักษะศตวรรษที่ 21 มีความฉลาดดิจิทัล ทักษะการทำงานเป็นทีม มีทักษะข้ามวัฒนธรรม รู้เท่าทันสื่อ เทคโนโลยี สารสนเทศสมัยใหม่ มีส่วนร่วมในการพัฒนาความก้าวหน้าในศาสตร์สาขาวิชาชีพทางนาฏศิลป์ไทย  สามารถแสวงหาความรู้ พัฒนาความรู้ งานวิจัย และสร้างนวัตกรรมงานนาฏศิลป์ไทย เพื่อพัฒนา ตนเองผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพตามความแตกต่างระหว่างบุคคล

เป็นผู้มีความสามารถสูงในการจัดการเรียนรู้ เป็นผู้มีความสามารถในการจัดเนื้อหาสาระ ออกแบบกิจกรรม วางแผนและจัดการเรียนรู้ ถ่ายทอดความรู้ สร้างแรงบันดาลใจและส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความสุขในการเรียน โดยใช้ศาสตร์การสอน เทคนิค วิธีการจัดการเรียนรู้ สื่อ กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เหมาะสมกับสาระวิชาและผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน สามารถบูรณาการความรู้ข้ามศาสตร์ ข้ามวัฒนธรรม และนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการศาสตร์การสอน ความรู้ เนื้อหาสาระ และเทคโนโลยี (TPACK) ตลอดจนการวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ แก้ไขปัญหาและพัฒนาตนเอง ผู้เรียนและสังคม

เป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง และใส่ใจสังคม มีความรักชาติ รักท้องถิ่น มีจิตสำนึกไทยและจิตสำนึกสากล รู้คุณค่าและส่วนร่วมในการพัฒนา อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยและท้องถิ่น มีจิตอาสา และดำเนินชีวิตตามวิถีประชาธิปไตย มีความยุติธรรมและมีความกล้าหาญทางจริยธรรม ยึดมั่นในความถูกต้อง รู้ถูก รู้ผิด รู้ชอบ ชั่ว ดี กล้าปฏิเสธและต่อต้านการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เคารพสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีจิตสำนึกเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก

ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร

ระบบการจัดการศึกษา

         ระบบการจัดการศึกษาในหลักสูตร เป็นแบบระบบทวิภาค 1 ปีการศึกษา มี 2 ภาคการศึกษา หนึ่งภาคการศึกษามีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ได้แก่

                    - ภาคการศึกษาที่ 1 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม

                    - ภาคการศึกษาที่ 2 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนมีนาคม

การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน

                    เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับ

ปริญญาตรี พ.ศ. 2560

การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค

           เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2560

หลักสูตร

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา ใช้ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษา ไม่เกิน 8 ปี

              จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 140 หน่วยกิต

               โครงสร้างหลักสูตร

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                         30       หน่วยกิต

หมวดวิชาเฉพาะด้าน               ไม่น้อยกว่า            104      หน่วยกิต

     กลุ่มวิชาชีพครู                                                  28    หน่วยกิต

     กลุ่มวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา                    13       หน่วยกิต                                

     กลุ่มวิชาเอก                             ไม่น้อยกว่า          63     หน่วยกิต

           - วิชาเอกบังคับ                                           42     หน่วยกิต

           - วิชาเอกเลือก                    ไม่น้อยกว่า         21     หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือกเสรี                  ไม่น้อยกว่า              6     หน่วยกิต

รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร

 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา มีรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป เรียน30  หน่วยกิต

062101

ทักษะการพูดและการฟังภาษาอังกฤษ

3(2-2-5)

หน่วยกิต

062102

พลเมืองที่เข้มแข็ง

3(2-2-5)

หน่วยกิต

062203

ทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

3(2-2-5)

หน่วยกิต

062204

ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

3(2-2-5)

หน่วยกิต

062205

ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อชีวิตและอาชีพ

3(2-2-5)

หน่วยกิต

062306

การใช้ภาษาอังกฤษและการสื่อสาร

3(2-2-5)

หน่วยกิต

062307

สุนทรียะ

3(2-2-5)

หน่วยกิต

062308

การรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา

3(2-2-5)

หน่วยกิต

062309

การสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะ

3(2-2-5)

หน่วยกิต

062310

ภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพ

3(2-2-5)

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาเฉพาะ เรียนไม่น้อยกว่า 104 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาชีพครู เรียน 28 หน่วยกิต

100101

ภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครู

3(2-2-5)

หน่วยกิต

100102

จิตวิญญาณความเป็นครู

3(2-2-5)

หน่วยกิต

100103

นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้

3(2-2-5)

หน่วยกิต

100104

การพัฒนาหลักสูตร

3(2-2-5)

หน่วยกิต

100205

จิตวิทยาสำหรับครู

3(2-2-5)

หน่วยกิต

100206

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

3(2-2-5)

หน่วยกิต

100207

วิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้

3(2-2-5)

หน่วยกิต

100208

การบริหารการศึกษาและการประกันคุณภาพ

3(2-2-5)

หน่วยกิต

100309

การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้

3(2-2-5)

หน่วยกิต

100310

ครุนิพนธ์

1(0-2-1)

หน่วยกิต

กลุ่มวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา เรียน 13 หน่วยกิต

101301

ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูระหว่างเรียน

1(45)

หน่วยกิต

101402

ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1

6(270)

หน่วยกิต

101403

ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2

6(270)

หน่วยกิต

กลุ่มวิชาเอก เรียนไม่น้อยกว่า 63 หน่วยกิต

          -  วิชาเอกบังคับ เรียน 42 หน่วยกิต

204101

พิธีไหว้ครูทางนาฏศิลป์

3(1-4-4)

หน่วยกิต

204102

สุนทรียภาพทางนาฏศิลป์

3(2-2-5)

หน่วยกิต

204103

การละครไทยและบุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

3(2-2-5)

หน่วยกิต

204104

ทักษะนาฏศิลป์ไทย

3(1-4-4)

หน่วยกิต

204105

การออกแบบเครื่องแต่งกายและแต่งหน้า  

3(1-4-4)

หน่วยกิต

204206

ระบำมาตรฐาน

3(1-4-4)

หน่วยกิต

204207

ระบำโบราณคดี

3(1-4-4)

หน่วยกิต

204208

รำเดี่ยวรำคู่

3(1-4-4)

หน่วยกิต

204209

การจัดการเรียนนาฏศิลป์ในหลักสูตรประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

3(2-2-5)

หน่วยกิต

204310

รำหน้าพาทย์

3(1-4-4)

หน่วยกิต

204311

นาฏยประดิษฐ์

3(1-4-4)

หน่วยกิต

204312

การจัดการแสดงวิพิธทัศนา

3(1-4-4)

หน่วยกิต

204313

การวิจัยด้านนาฏศิลป์

3(2-2-5)

หน่วยกิต

204314

สัมมนาทางด้านนาฏศิลป์

3(2-2-5)

หน่วยกิต

 

-  วิชาเอกเลือก เรียนไม่น้อยกว่า 21 หน่วยกิต

 

 

204015

นาฏศิลป์พื้นเมืองสี่ภาค และการแสดงท้องถิ่น

3(1-4-4)

หน่วยกิต

204016

นาฏศิลป์เบื้องต้นสำหรับครู

3(1-4-4)

หน่วยกิต

204017

หลักการวิเคราะห์และวิจารณ์การแสดง

3(2-2-5)

หน่วยกิต

204018

การออกแบบเทคโนโลยีสำหรับนาฏศิลป์

3(2-2-5)

หน่วยกิต

204019

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านนาฏศิลป์ไทย และการละคร

3(2-2-5)

หน่วยกิต

204020

นาฏศิลป์เปรียบเทียบ

3(2-2-5)

หน่วยกิต

204021

การบริหารจัดการแสดงนาฏศิลป์

3(2-2-5)

หน่วยกิต

204022

ระบำเบ็ดเตล็ด

3(1-4-4)

หน่วยกิต

204023

ละครสำหรับเด็ก

3(2-2-5)

หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือกเสรี เรียนไม่น้อยกว่า6  หน่วยกิต

             ให้เลือกเรียนรายวิชาใดๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตรของสาขาวิชานี้

หลักสูตร

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา ใช้ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษา ไม่เกิน 8 ปี

                   จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 140 หน่วยกิต

               โครงสร้างหลักสูตร

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                         30       หน่วยกิต

หมวดวิชาเฉพาะด้าน               ไม่น้อยกว่า          104     หน่วยกิต

     กลุ่มวิชาชีพครู                                                 28      หน่วยกิต

     กลุ่มวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา                    13     หน่วยกิต                                

     กลุ่มวิชาเอก                       ไม่น้อยกว่า               63     หน่วยกิต

           - วิชาเอกบังคับ                                           42     หน่วยกิต

           - วิชาเอกเลือก                    ไม่น้อยกว่า          21     หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือกเสรี                  ไม่น้อยกว่า              6      หน่วยกิต

 

รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร

 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา มีรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป เรียน30  หน่วยกิต

062101

ทักษะการพูดและการฟังภาษาอังกฤษ

3(2-2-5)

หน่วยกิต

062102

พลเมืองที่เข้มแข็ง

3(2-2-5)

หน่วยกิต

062203

ทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

3(2-2-5)

หน่วยกิต

062204

ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

3(2-2-5)

หน่วยกิต

062205

ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อชีวิตและอาชีพ

3(2-2-5)

หน่วยกิต

062306

การใช้ภาษาอังกฤษและการสื่อสาร

3(2-2-5)

หน่วยกิต

062307

สุนทรียะ

3(2-2-5)

หน่วยกิต

062308

การรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา

3(2-2-5)

หน่วยกิต

062309

การสร้างเสริมและดูแลสุขภาวะ

3(2-2-5)

หน่วยกิต

062310

ภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพ

3(2-2-5)

หน่วยกิต

 

หมวดวิชาเฉพาะ เรียนไม่น้อยกว่า 104 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาชีพครู เรียน 28 หน่วยกิต

100101

ภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครู

3(2-2-5)

หน่วยกิต

100102

จิตวิญญาณความเป็นครู

3(2-2-5)

หน่วยกิต

100103

นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้

3(2-2-5)

หน่วยกิต

100104

การพัฒนาหลักสูตร

3(2-2-5)

หน่วยกิต

100205

จิตวิทยาสำหรับครู

3(2-2-5)

หน่วยกิต

100206

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

3(2-2-5)

หน่วยกิต

100207

วิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้

3(2-2-5)

หน่วยกิต

100208

การบริหารการศึกษาและการประกันคุณภาพ

3(2-2-5)

หน่วยกิต

100309

การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้

3(2-2-5)

หน่วยกิต

100310

ครุนิพนธ์

1(0-2-1)

หน่วยกิต

กลุ่มวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา เรียน 13 หน่วยกิต

101301

ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูระหว่างเรียน

1(45)

หน่วยกิต

101402

ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1

6(270)

หน่วยกิต

101403

ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2

6(270)

หน่วยกิต

กลุ่มวิชาเอก เรียนไม่น้อยกว่า 63 หน่วยกิต

          -  วิชาเอกบังคับ เรียน 42 หน่วยกิต

204101

พิธีไหว้ครูทางนาฏศิลป์

3(1-4-4)

หน่วยกิต

204102

สุนทรียภาพทางนาฏศิลป์

3(2-2-5)

หน่วยกิต

204103

การละครไทยและบุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

3(2-2-5)

หน่วยกิต

204104

ทักษะนาฏศิลป์ไทย

3(1-4-4)

หน่วยกิต

204105

การออกแบบเครื่องแต่งกายและแต่งหน้า  

3(1-4-4)

หน่วยกิต

204206

ระบำมาตรฐาน

3(1-4-4)

หน่วยกิต

204207

ระบำโบราณคดี

3(1-4-4)

หน่วยกิต

204208

รำเดี่ยวรำคู่

3(1-4-4)

หน่วยกิต

204209

การจัดการเรียนนาฏศิลป์ในหลักสูตรประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

3(2-2-5)

หน่วยกิต

204310

รำหน้าพาทย์

3(1-4-4)

หน่วยกิต

204311

นาฏยประดิษฐ์

3(1-4-4)

หน่วยกิต

204312

การจัดการแสดงวิพิธทัศนา

3(1-4-4)

หน่วยกิต

204313

การวิจัยด้านนาฏศิลป์

3(2-2-5)

หน่วยกิต

204314

สัมมนาทางด้านนาฏศิลป์

3(2-2-5)

หน่วยกิต

 

-  วิชาเอกเลือก เรียนไม่น้อยกว่า 21 หน่วยกิต

 

 

204015

นาฏศิลป์พื้นเมืองสี่ภาค และการแสดงท้องถิ่น

3(1-4-4)

หน่วยกิต

204016

นาฏศิลป์เบื้องต้นสำหรับครู

3(1-4-4)

หน่วยกิต

204017

หลักการวิเคราะห์และวิจารณ์การแสดง

3(2-2-5)

หน่วยกิต

204018

การออกแบบเทคโนโลยีสำหรับนาฏศิลป์

3(2-2-5)

หน่วยกิต

204019

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านนาฏศิลป์ไทย และการละคร

3(2-2-5)

หน่วยกิต

204020

นาฏศิลป์เปรียบเทียบ

3(2-2-5)

หน่วยกิต

204021

การบริหารจัดการแสดงนาฏศิลป์

3(2-2-5)

หน่วยกิต

204022

ระบำเบ็ดเตล็ด

3(1-4-4)

หน่วยกิต

204023

ละครสำหรับเด็ก

3(2-2-5)

หน่วยกิต

 

         หมวดวิชาเลือกเสรี เรียนไม่น้อยกว่า6  หน่วยกิต

             ให้เลือกเรียนรายวิชาใดๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตรของสาขาวิชานี้

 

 

 

วันที่เผยแพร่ 23 พฤษภาคม 2562
ผู้เผยแพร่ admin

สาขาวิชานาฏศิลป์ อาคาร 5

Telephone : 044 009 009 #  

วันที่เผยแพร่ 23 พฤษภาคม 2562
ผู้เผยแพร่ admin