ประธานหลักสูตร |
|
รหัสหลักสูตร 25501481105758
ภาษาไทย หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน
ภาษาไทย ชื่อเต็ม ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาจีน)ชื่อย่อ ศศ.บ. (ภาษาจีน)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม Bachelor of Arts (Chinese) ชื่อย่อ B.A. (Chinese)
-
132 หน่วยกิต
รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4ปี
ประเภทของหลักสูตร
หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย
รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
เป็นหลักสูตร ปรับปรุง พ.ศ. 2560 โดยปรับปรุงจากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน
เริ่มใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เป็นต้นไป
คณะกรรมการบริหารหลักสูตร พิจารณาหลักสูตรนี้ในการประชุม
ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2559
ครั้งที่ 2/2559 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2559
ครั้งที่ 3/2559เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2559
คณะกรรมการประจำคณะ พิจารณาหลักสูตรนี้ในการประชุมครั้งที่ 5/2559 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559
สภาวิชาการพิจารณาให้ความเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 2/2560/ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ปี พ.ศ. 2562 (หลังเปิดสอน 2 ปี)
นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน สามารถประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับภาษาจีน ได้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน แบ่งตามลักษณะงานดังนี้
งานบริการที่ต้องใช้ภาษาจีนเป็นภาษากลางในการสื่อสาร เช่น พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน พนักงานภาคพื้นดินประจำสายการบิน พนักงานโรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร ล่าม หรือมัคคุเทศก์
งานสนับสนุนวิชาการที่ต้องใช้ภาษาจีนในการติดต่อสื่อสารกับองค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ เช่น ผู้แปลเอกสาร หรือ เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน เจ้าหน้าที่การทูต นักการทูต หรือบริษัทต่างๆ
งานทางด้านการศึกษาโดยเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับภาษาจีน เช่น ครูสอนภาษาจีนตามสถาบันสอนพิเศษ หรือสถาบันของภาครัฐและภาคเอกชน
อาชีพอิสระ เช่น ผู้แปลเอกสาร
อาคารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และอาคารเรียนรวมภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ได้(พ.ศ. 2560-2564)ได้มี
การกำหนดบริบทการเปลี่ยนแปลงและภาพอนาคตของประเทศไทย บริบทภายในอันได้แก่ ภาพเศรษฐกิจไทยในกรณีฐานภายใต้สมมุติฐาน
1) แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก 2) การลงทุนภาครัฐ
3)ราคาน้ำมันโดยเฉลี่ย 4) ผลิตภาพการผลิตรวมขยายตัว 5) การลงทุนของภาคเอกชน 6) กำลังแรงงานลดลง
ภายใต้สมมุติฐานเหล่านี้เศรษฐกิจไทยในช่วง 10 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ3.3-4.3 โดยมีค่ากลางของการประมาณการร้อยละ 3.8 ซึ่งทำให้เศรษฐกิจไทยจะสามารถขยับฐานะขึ้นเป็นประเทศรายได้สูงในช่วงปี 2571 (ในกรณีเศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ4.3) -2574 (ในกรณีเศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ3.3) การขยายตัวในกรณีฐานดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ภายใต้กับดักประเทศรายได้ปานกลางอย่างถาวรมากขึ้น จากยุทศาสตร์สำคัญที่เน้นการพัฒนาสู่ความมั่นคงและยั่งยืนด้วยการสร้างความเข้มแข็งจากภายในขับเคลื่อนตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผ่านกลไกประชารัฐ และทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ได้(พ.ศ. 2560-2564)จึงได้มีการกำหนดบริบทการเปลี่ยนแปลงและภาพอนาคตของประเทศไทย “ไทยแลนด์ 4.0” เป็นโมเดลในการปฏิรูปเศรษฐกิจ จากดั้งเดิมไทยแลนด์1.0 เน้นภาคการเกษตรต่อมาเป็นไทยแลนด์2.0เน้นเศรษฐกิจที่เป็นอุตสาหกรรมเบาจนเข้าสู่ไทยแลนด์3.0ที่เน้นอุตสาหกรรมหนักและจะเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม(Value–Base Economy)ให้ได้ภายใน3-5ปีข้างหน้า เป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบใน 4 องค์ประกอบ คือ 1) เปลี่ยนแปลงจากการเกษตรแบบดั้งเดิม(Traditional Farming)สู่การเกษตรสมัยใหม่ (Smart Farming) 2) เปลี่ยนแปลงTraditional SMEs ที่รัฐต้องช่วยเหลือตลอดเวลาไปสู่การเป็น Smart Enterprise และ Start ups ที่มีคุณภาพสูง 3) เปลี่ยนแปลงจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำไปสู่ High Value Services และ 4) เปลี่ยนแปลงจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและทักษะสูง และได้กำหนดเป็น 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 1)กลุ่มอาหาร เกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ 2)กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพและเทคโนโลยีทางการแพทย์ 3)กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม 4)กลุ่มดิจิตอลเทคโนโลยี เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัวและ 5) กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรมและบริการที่มีมูลค่าสูง
จากทิศทางของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจภาษาต่างประเทศจึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนการดำเนินการในงานด้านต่างๆของประเทศให้สำเร็จและปัจจุบันประเทศจีนเป็นประเทศหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในความเจริญทุกๆด้าน ดังนั้นภาษาจีนจึงเป็นภาษาที่มีความสำคัญในการที่คนในชาติจะใช้ภาษานี้เพื่อการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจในบริบทไทยแลนด์ 4.0 ดังนั้นเพื่อให้ประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนยุทศาสตร์ของชาติ เปลี่ยนแปลงทิศทางของเศรษฐกิจเข้าสู่ ไทยแลนด์ 4.0 การผลิตคนที่มีความรู้ มีทักษะภาษาจีนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ
ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ได้(พ.ศ. 2560-2564)ได้มี
การกำหนดบริบทการเปลี่ยนแปลงและภาพอนาคตของประเทศไทย บริบทภายนอกอันได้แก่
1) การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ องค์การสหประชาชาติประเมินสถานการณ์ว่าในช่วงปี2544-2643 (ค.ศ. 2001-2100) จะเป็นศตวรรษแห่งผู้สูงอายุ หมายถึงการมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรรวมทั่วโลก 2) การปรับเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่รวดเร็ว การปรับเปลี่ยนที่รวดเร็วด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการผลิตและการค้าที่มีการใช้เทคโนโลยี มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กลายมาเป็นรูปแบบการค้าที่มีบทบาทมากขึ้น มีการยกระดับกระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติไปสู่การใช้เทคโนโลยีที่ผสมผสานระหว่าง Information Technology กับ Operation Technologyหรือเรียกว่า Internet of Things (เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆเช่น โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ ตู้เย็น โทรทัศน์และอื่นๆเข้าไว้ด้วยกัน
3) ความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคและระดับโลกที่สูงขึ้นโดยมีทั้ง
3.1) แนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านมีการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและเขตเศรษฐกิจพิเศษภายในประเทศซึ่งมีผลต่อทิศทางการวางแผนพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย ตลอดจนการปรับเปลี่ยนกฎ ระเบียบ กติกา ด้านการค้าการลงทุนที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับเรื่องความโปร่งใสและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
3.2) การเปิดเสรีภายใต้ข้อตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 จะนำมาซึ่งโอกาสที่สำคัญหลายๆประการต่อการยกระดับศักยภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ได้แก่ การลดข้อจำกัดในด้านอุปสงค์ในประเทศ โอกาสในการใช้ปัจจัยการผลิตและแรงงานสำหรับการพัฒนาภาคเกษตรและอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานและวัตถุดิบเข้มข้นในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาตนเองไปสู่ระดับการผลิตที่สูงขึ้นทั้งทางผลิตในประเทศและการใช้ฐานการผลิตในประเทศเพื่อนบ้านและโอกาสในการใช้ความได้เปรียบด้านสถานที่ตั้งและด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เป็นศูนย์กลางทางด้านการบริการและการผลิตภาคอุตสาหกรรมอนาคตในอนุภูมิภาคและภูมิภาคในระยะต่อไป
3.3) การเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศที่พัฒนาแล้ว
3.4) ตลาดเงิน ตลาดทุนและเศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ยงที่จะผันผวนตลอดช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12
3.5) ความเลื่อนไหลของกระแสวัฒนธรรมโลก ความก้าวหน้าในการติดต่อสื่อสาร การขยายตัวของเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ส่งผลให้มีโอกาสและความเสี่ยงต่อวิถีชีวิต ทัศนคติและความเชื่อในสังคมตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กระบวนการเรียนรู้และพฤติกรรมการบริโภคของคนในประเทศ
ดังนั้นจากทิศทาง การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ปรับเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่รวดเร็ว ความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคและระดับโลกที่สูงขึ้น ภาษาซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ติดต่อ แลกเปลี่ยนระหว่างคนในระดับภูมิภาคและระดับโลก การขยายตัวของบทบาทภาษาจีนในเวทีโลกจึงมีมากขึ้นเพื่อเตรียมคนให้เพียงพอรองรับกับการเปลี่ยนแปลงจึงทำให้การผลิตบัณฑิตสาขาวิชาภาษาจีนเป็นเตรียมคนให้สอดคล้องกับภาวะที่เปลี่ยนแปลง
การพัฒนาหลักสูตร
จัดทำหรือปรับปรุงหลักสูตรให้ตอบสนองความต้องการด้านสังคมศาสตร์เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาภาษาจีน ให้ทักษะ ความรู้ ภาษาจีนในการสื่อสารเพื่อการประกอบอาชีพที่ใช้ภาษาจีน ทั้งในด้านการศึกษา การท่องเที่ยว การโรงแรม ธุรกิจ การบริการ การอุตสาหกรรม การขนส่ง การสื่อสาร เทคโนโลยี และเทคโนโลยีการสื่อสาร การแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน ที่มีการใช้บุคลากรที่สามารถใช้ภาษาจีนในการปฏิบัติงาน และการผลิตบัณฑิตให้มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีความรักและภูมิใจในความเป็นไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรมภายใต้กระแส โลกาภิวัตน์ที่มีการสื่อสารแบบไร้พรมแดนมีศักยภาพในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีศักยภาพในการพึ่งพาตนเองบนฐานภูมิปัญญาไทยดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้
ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย
ผลิตบัณฑิตให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศด้านสังคมศาสตร์ ที่มีความรู้คู่คุณธรรม สำนึกในความเป็นไทย คิดกว้างไกลเป็นสากลมีความรักและความผูกพันต่อท้องถิ่นมีทักษะทางวิชาการวิชาชีพ วิชาชีวิต มีความสามารถทางภาษาต่างประทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับที่ใช้งานได้ ส่งเสริมสนับสนุนด้านการวิจัย การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนะธรรมการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
หลักสูตรนี้มีรายวิชาที่กำหนดให้นักศึกษาในหลักสูตรอื่นเรียน ได้แก่
มีการประชาสัมพันธ์และแจ้งให้ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอื่นในมหาวิทยาลัยได้ทราบว่าหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน ได้จัดรายวิชาโทสำหรับสาขาวิชาอื่นเพื่อนักศึกษานอกหลักสูตรที่มีความสนใจเที่ยวและประชาสัมพันธ์ให้กับนักศึกษาโปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้เลือกเรียนกลุ่มวิชาเลือกภาษาจีนและนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีได้เลือกเรียนรายวิชาภาษาจีนกลางพื้นฐาน ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
สาขาวิชาภาษาจีน อาคาร 36 ชั้น 7
Telephone : 044 009 009 # 3673