หลักสูตรออกแบบนิเทศศิลป์

วันที่เผยแพร่ 23 พฤษภาคม 2562
ผู้เผยแพร่ admin

ประธานหลักสูตร

 

 
วันที่เผยแพร่ 23 พฤษภาคม 2562
ผู้เผยแพร่ admin

ข้อมูลทั่วไป

รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัสหลักสูตร 25501481105332

ภาษาไทย     หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ 

ภาษาอังกฤษ Bachelor of Fine and Applied Arts Program in Visual Communication Design

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย ชื่อเต็ม   ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ออกแบบนิเทศศิลป์)

       ชื่อย่อ   ศป.บ. (ออกแบบนิเทศศิลป์)

ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม   Bachelor of Fine and Applied Arts  (Visual Communication Design)

ชื่อย่อ   B.F.A. (Visual Communication Design)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

ไม่น้อยกว่า 140 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

รูปแบบ

หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี

ภาษาที่ใช้

จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย

อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสำเร็จการศึกษา 

อาชีพอิสระ ได้แก่ เปิดบริษัททางด้านออกแบบและผลิตสื่อโฆษณา เป็นต้น

ภาคเอกชน ได้แก่ พนักงานบริษัทด้านการออกแบบหรือฝ่ายศิลป์ เช่น โรงพิมพ์, ห้างสรรพสินค้า, โรงแรม เป็นต้น

ภาคราชการ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายการออกแบบหรือฝ่ายศิลป์ เป็นต้น

 

ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา 

มีคุณธรรม สร้างสรรค์งานออกแบบนิเทศศิลป์ เชี่ยวชาญทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ 
 
ความสำคัญ
  •  พัฒนาบัณฑิตให้มีคุณลักษณะและความสามารถทางด้านการออกแบบให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 
  •  พัฒนาบัณฑิตให้มีศักยภาพทางการออกแบบทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น
  • พัฒนาบัณฑิตให้มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพด้านการออกแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและสังคม
  • ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานทั้งภาครัฐ และหน่วยงานภาคเอกชน

วัตถุประสงค์ 

เพื่อผลิตบัณฑิตหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบนิเทศ ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้

  • มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพออกแบบนิเทศศิลป์
  • มีความรู้ ความสามารถในวิชาชีพออกแบบนิเทศศิลป์
  • มีทักษะความสามารถใช้เหตุผลเชิงวิเคราะห์แก้ปัญหาการออกแบบได้อย่างเหมาะสม
  • มีทักษะความรับผิดชอบสามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
  • มีทักษะสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพออกแบบนิเทศศิลป์อย่างมีประสิทธิภาพ
  • มีทักษะปฏิบัติงานด้านการออกแบบนิเทศศิลป์อย่างชำนาญ
  • สามารถสร้างเครือข่ายทางวิชาชีพออกแบบนิเทศศิลป์ได้
 

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์

ใช้ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษา 4 ปี ไม่เกิน 8 ปี

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร                                 ไม่น้อยกว่า        140     หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตรจำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร  ไม่น้อยกว่า        140      หน่วยกิต

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                ไม่น้อยกว่า               30        หน่วยกิต

 

หมวดวิชาเฉพาะ                       ไม่น้อยกว่า                105      หน่วยกิต

- กลุ่มวิชาแกน                                                               24      หน่วยกิต

- กลุ่มวิชาเอก                                                                51      หน่วยกิต

- กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน                                                       30      หน่วยกิต

กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ                                       0       หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือกเสรี                      ไม่น้อยกว่า                  6      หน่วยกิต

 

รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร

             หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ มีรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้ 

 ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ต้องเรียนทุกกลุ่มวิชา รวมไม่น้อยกว่า 30   หน่วยกิต ดังนี้

 ข. หมวดวิชาเฉพาะ เรียนไม่น้อยกว่า       108      หน่วยกิต

กลุ่มวิชาแกน                   เรียน              24           หน่วยกิต

202101 ประวัติศาสตร์ศิลป์                              3(2-3-5)   หน่วยกิต

202102 ศิลปะไทยเพื่อการออกแบบ                     3(5-0-7)   หน่วยกิต

202103 วาดเส้น 1                                         3(2-3-5)   หน่วยกิต

202104 วาดเส้น 2                                        3(2-3-5)   หน่วยกิต

202105 จิตรกรรมเพื่อการออกแบบ                     3(2-3-5)   หน่วยกิต

202106 หลักการออกแบบ                               3(2-3-5)   หน่วยกิต

202107 คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ                   3(2-3-5)   หน่วยกิต

202108 ภาษาอังกฤษสำหรับนักออกแบบ                3(2-3-5)   หน่วยกิต

 

กลุ่มวิชาเอก                                        เรียน    51   หน่วยกิต

202211 การออกแบบนิเทศศิลป์ 1 
(เรขศิลป์และการออกแบบตัวอักษร)            3(2-3-5)   หน่วยกิต
202212 การออกแบบนิเทศศิลป์ 2
(สัญลักษณ์และการสร้างสื่ออัตตลักษณ์)      3(2-3-5)   หน่วยกิต
202213 การออกแบบนิเทศศิลป์ 3
(บรรจุภัณฑ์)                                         3(2-3-5)   หน่วยกิต
202214 การออกแบบนิเทศศิลป์ 4
(สิ่งพิมพ์และสื่อโฆษณา)                          3(2-3-5)  หน่วยกิต
202215 การออกแบบนิเทศศิลป์ 5
(การถ่ายภาพ)                                        3(2-3-5)  หน่วยกิต
202311 การออกแบบนิเทศศิลป์ 6
(การเขียนบทและการผลิตสื่อภาพเคลื่อนไหว) 3(2-3-5)  หน่วยกิต
202312 การออกแบบนิเทศศิลป์ 7
(การออกแบบเครื่องแต่งกายเบื้องต้น)            3(2-3-5)  หน่วยกิต
202443 ศิลปนิพนธ์                                9(0-10-20) หน่วยกิต

กลุ่มวิชากราฟิก

202321 การวิเคราะห์วิพากษ์สื่อ                   3(2-3-5)  หน่วยกิต
202322 เทคโนโลยีเพื่อการผลิตสื่อ              3(2-3-5)   หน่วยกิต
202323 การออกแบบสื่อแอนิเมชั่น               3(2-3-5)   หน่วยกิต
202324 การออกแบบและพัฒนาแอพพลิเคชั่น 
สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่                              3(2-3-5)  หน่วยกิต
202421 หนังสั้นและภาพยนตร์โฆษณา           3(2-3-5)  หน่วยกิต
202422 เรขศิลป์สิ่งแวดล้อม                        3(2-3-5)   หน่วยกิต
202423 การออกแบบสิ่งพิมพ์ขั้นสูง               3(2-3-5)  หน่วยกิต

กลุ่มแฟชั่น

202331 ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องแต่งกาย                  3(2-3-5)  หน่วยกิต
202332 ผ้าไทยและภูมิปัญญาสิ่งทอพื้นถิ่น                  3(2-3-5)  หน่วยกิต
202333 การสร้างแพตเทิร์นและการตัดเย็บ                  3(3-2-5) หน่วยกิต
202334 เทคโนโลยีเส้นใยและสิ่งทอ                         3(2-3-5) หน่วยกิต
202431 แฟชั่นสไตล์ลิ่ง                                         3(2-3-5) หน่วยกิต
202432 คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบเครื่องแต่งกาย    3(2-3-5) หน่วยกิต
202433 การประสานงานและนำเสนอผลงานแฟชั่น        3(2-3-5) หน่วยกิต

 กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน                       เรียน      30     หน่วยกิต

202201 เขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์              3(2-3-5)   หน่วยกิต
202202 หลักการจัดองค์ประกอบ                 3(2-3-5)   หน่วยกิต
202203 การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อท้องถิ่น   3(2-3-5)    หน่วยกิต
202313 การถ่ายภาพเพื่องานโฆษณา           3(2-3-5)   หน่วยกิต
202314 วาดเส้นสร้างสรรค์                        3(2-3-5)    หน่วยกิต
202315 การออกแบบสื่อออนไลน์               3(2-3-5)  หน่วยกิต
202316 การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ   3(2-3-5)  หน่วยกิต
202401 การออกแบบนิทรรศการ                 3(2-3-5)  หน่วยกิต
202441 วิธีวิจัยเพื่องานออกแบบ                 3(2-3-5)  หน่วยกิต
202442 สัมมนาด้านการออกแบบ                3(2-3-5)  หน่วยกิต
202443 การออกแบบเครื่องประดับ              3(2-3-5) หน่วยกิ
202301 การออกแบบภาพประกอบ              3(2-3-5) หน่วยกิต
202302 ศิลปหัตถกรรมท้องถิ่น                   3(2-3-5) หน่วยกิต
202303 การออกแบบลวดลาย                    3(2-3-5) หน่วยกิต
202304 การออกแบบผลิตภัณฑ์กระดาษ       3(2-3-5) หน่วยกิต
202305 การออกแบบสื่อโฆษณา                3(2-3-5) หน่วยกิต
202306 การออกแบบตัวอักษร                   3(2-3-5) หน่วยกิต
202307 การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อท้องถิ่น  3(2-3-5) หน่วยกิต
202308 ศิลปะไทยประยุกต์                        3(2-3-5) หน่วยกิต
202309 การออกแบบเครื่องแต่งกายท้องถิ่น   3(2-3-5) หน่วยกิต

กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ            เรียน     0   หน่วยกิต

202351 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ          0(0-350-0)   หน่วยกิต
ออกแบบนิเทศศิลป์ (ภาคฤดูร้อน)
 

ค. หมวดวิชาเลือกเสรี เรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

           ให้เลือกเรียนรายวิชาใดๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาโดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้วและต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตรของสาขาวิชานี้

คำอธิบายรายวิชา

หมวดวิชาเฉพาะ

  1. กลุ่มวิชาเอกบังคับ

รหัสวิชา                             ชื่อและคำอธิบายรายวิชา                    น(ท-ป-ศ)

202101                             ศิลปะไทยเพื่อการออกแบบ                                      3(2-2-5)

                                         (Thai Arts for Design)

ความหมายของศิลปะไทย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะไทย ที่มาของลายไทยและภาพไทย สามารถประยุกต์และสร้างสรรค์เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางอนุรักษ์ อีกทั้งสามารถจำแนกแบบและชนิดของภาพไทยและลายไทยได้ ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการออกแบบลายไทยและภาพไทย

202102                             ประวัติศาสตร์ศิลป์                                              3(3-0-6)

                                          (History of Arts)

ประวัติศาสตร์ศิลปะโดยสังเขปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตะวันตกและตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อศิลปะสาขาต่าง ๆ และศิลปะไทย ในด้านรูปแบบ เนื้อหาในอดีตถึงปัจจุบัน โดยเน้นคติความเชื่อ และศิลปะการช่างที่สำคัญของไทยและสากล

202103                             วาดเส้นเพื่อการออกแบบ 1                                     3(2-2-5)

                                           (Drawing for Design I)

ปฏิบัติการวาดเส้น แสง+เงา น้ำหนัก และรูปทรงสัดส่วนของวัตถุหรือวัสดุชนิดต่าง ๆ ตั้งแต่วัตถุที่มีพื้นผิว หยาบจนถึงละเอียด วัตถุที่มีความโปร่งใส บาง ใส ทึบ ตัน หรือมีความมันวาว ซึ่งเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของงานออกแบบโดยทั่วไป

202104                             จิตรกรรมเพื่อการออกแบบ                                     3(2-2-5)

                                           (Painting for Design)

ปฏิบัติงานทางด้านจิตรกรรมไทยและสากล หลักการเขียนภาพ เทคนิควิธีการใช้สี และเนื้อหาของจิตรกรรมที่มีประโยชน์ต่อการสร้างงานออกแบบ  การพัฒนาชีวิตและสังคม

 202111                             ประติมากรรมเพื่อการออกแบบ                                 3(2-2-5)

                                         (Sculpture for Design)

กรรมวิธีของงานประติมากรรมโดยเน้นความคิดสร้างสรรค์ เทคนิควิธีการในการปฏิบัติงาน เน้นความรู้เกี่ยวกับประติมากรรมเบื้องต้น ลักษณะและคุณค่าของวัสดุแต่ละชนิดที่นำมาสร้างงานประติมากรรม ตลอดจนการเตรียมการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับประเภทของงานประติมากรรม การออกแบบทางประติมากรรม

202121                             คอมพิวเตอร์กราฟิก                                              3(2-2-5)

                                         (Computer Graphic)

หลักการและวิธีใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการสร้างภาพขั้นพื้นฐาน รูปร่างรูปทรงเรขาคณิตลายเส้น และฝึกปฏิบัติการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

 202201                             หลักการออกแบบ                                                3(2-2-5)

                                           (Principles of Design)

ทฤษฎี องค์ประกอบ หลักการออกแบบ เพื่อใช้เป็นแนวทางสร้างสรรค์ และฝึกปฏิบัติการออกแบบประเภทต่าง ๆ เช่น ทฤษฎีการสื่อสาร ภาษาภาพ จิตวิทยาการสื่อสาร

202211                             เขียนแบบเพื่อการออกแบบ                                     3(2-2-5)

                                         (Drafting for Design)

ความสำคัญ ความเป็นมาของงานเขียนแบบ โดยเน้นให้รู้จักวิธีการใช้เครื่องมือ เพื่อสามารถนำไปใช้เขียนแบบพื้นฐานรูปแบบต่างๆ โดยมีความเข้าใจมาตรฐานสัญลักษณ์ทางการออกแบบ และฝึกปฏิบัติการเขียนแบบเพื่อการออกแบบงานประเภทต่าง ๆ

202212                             การออกแบบนิเทศศิลป์ 1                              3(2-2-5)

                                          (Visual Communication Design 1)

ความสำคัญ ความเป็นมา วิวัฒนาการ วิชาชีพ ปัญหา กระบวนการ และองค์ประกอบต่าง ๆ ของนิเทศศิลป์ การดำเนินงานนิเทศศิลป์อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

202213                             การออกแบบนิเทศศิลป์ 2                              3(2-2-5)

                                          (Visual Communication Design 2)

ทฤษฎีภาษาภาพสื่อสาร ฝึกปฏิบัติการออกแบบสัญลักษณ์ประเภทต่างๆ โดยคำนึงถึงหลักการ สื่อสารที่จำแนกตามลักษณะการใช้งาน เช่น การออกแบบเครื่องหมาย (Sign) สัญลักษณ์(Symbol)ตราสัญลักษณ์ (Logo) ระบบป้ายสัญลักษณ์ (Signage System) ที่ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

202214                             การออกแบบนิเทศศิลป์ 3                              3(2-2-5)

                                         (Visual Communication Design 3)

ประวัติความเป็นมาของการพิมพ์ รูปแบบสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ หลักบรรณาธิการ การออกแบบและการจัดทำต้นฉบับสำหรับงานพิมพ์ เช่น การเลือกแบบตัวอักษร ภาพประกอบ ระบบโครงสร้างกริด (Grid System) วัสดุและเทคนิค ตลอดจนทำความเข้าใจในธุรกิจการพิมพ์

202321                             การออกแบบนิเทศศิลป์ 4                              3(2-2-5)

                                          (Visual Communication Design 4)

ประวัติความเป็นมา ความสำคัญของงานโฆษณา หลักการโฆษณา หลักการตลาดพื้นฐาน พฤติกรรมผู้บริโภค ฝึกปฏิบัติให้เกิดความชำนาญในการแก้ปัญหา และกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งงานโฆษณาประเภทต่าง ๆ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 202331                             การออกแบบนิเทศศิลป์ 5                              3(2-2-5)

                                           (Visual Communication Design 5)

ประวัติความเป็นมา วิวัฒนาการออกแบบภาพยนตร์ ภาพเคลื่อนไหวและฝึกปฏิบัติ เช่นภาพยนตร์สั้น ภาพยนตร์โฆษณา สารคดี มิวสิควีดีโอ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างงานออกแบบวัสดุ เครื่องมือ และกรรมวิธีการผลิต

202332                             การออกแบบนิเทศศิลป์ 6                              3(2-2-5)

                                           (Visual Communication Design 6)

ความสำคัญ ความเป็นมา หลักการออกแบบ การสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้า โครงสร้างและลวดลายบรรจุภัณฑ์ และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ เพื่อผลทางด้านประสิทธิภาพความปลอดภัย ความประหยัดในการผลิต การบรรจุ การขนส่ง การจำหน่าย  การบริโภค การเลือกใช้วัสดุโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม รวมถึงเครื่องหมายที่เกี่ยวข้อง

202333                             การออกแบบนิเทศศิลป์ 7                             3(2-2-5)

                                          (Visual Communication Design 7)

พื้นความรู้ สอบผ่านรายวิชา 202321 การออกแบบนิเทศศิลป์ 4

ศึกษาทำความเข้าใจและปฏิบัติงานกลุ่มเกี่ยวกับชุดโครงงานการออกแบบโฆษณา  เน้นการวางแผนกลยุทธ์ การสร้างสรรค์และการนำเสนอผลงาน

กลุ่มวิชาเอกเลือก

รหัส                                  ชื่อและคำอธิบายรายวิชา                             น(ท-ศ)

202105                             วาดเส้นเพื่อการออกแบบ 2                                     3(2-2-5)

                                           (Drawing for Design II)

ปฏิบัติการวาดเส้น ถ่ายทอดรูปแบบจากธรรมชาติ คน สัตว์ ออกมาในลักษณะ 2 มิติ และ 3 มิติ ที่เน้นด้านลายเส้นชนิดต่างๆ รวมไปถึงรูปทรง แสง เงา พื้นผิว ระยะใกล้ ไกล ตลอดจนการแก้ปัญหาทางด้านเทคนิค วัสดุ อุปกรณ์ ให้เหมาะสมกับเรื่องราว

202106                             ศิลปหัตถกรรมท้องถิ่น                                          3(2-2-5)

                                           (Local Craft)

รูปแบบลักษณะ ความเป็นมา อิทธิพลที่ทำให้เกิดศิลปหัตถกรรมในชีวิตประจำวัน วัสดุ วิธีการและศึกษาองค์ความรู้ วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น แนวทางการพัฒนาส่งเสริมศิลปหัตถกรรมแต่ละประเภท เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในสังคมปัจจุบัน หรือบังเกิดผลทางเศรษฐกิจแก่ท้องถิ่น

202107                             ภาษาอังกฤษสำหรับนักออกแบบ                               3(3-0-6)

                                         (English for Designer)

พัฒนาทักษะในการฟัง ฝึกการอ่านบทความ เอกสารวิชาการศิลปะ และการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ โดยสามารถเข้าใจการใช้ศัพท์ สำนวน การวางรูปแบบารจับใจความสำคัญและวัตถุประสงค์ของผู้เขียนได้

202112                             เทคนิคการทำหุ่นจำลอง                                         3(2-2-5)

                                         (Technical Methods of Model)

วิธีการทำหุ่นจำลองวัสดุประเภทต่างๆ เช่น ทำจากปูนพลาสเตอร์ พลาสติก ไม้ ไฟเบอร์กลาส โลหะผสม กระดาษ ฯลฯ ตลอดจนการผลิตหุ่นจำลองชนิดสามารถถอดออกได้และประกอบได้ และฝึกปฏิบัติการออกแบบหุ่นจำลอง

202215                             การออกแบบลวดลาย                                           3(2-2-5)

                                          (Decorative Design)

ที่มาและแนวคิดในการออกแบบลวดลายประเภทต่างๆ ตลอดจนการผูกลายเพื่อนำไปใช้ในการออกแบบ และฝึกปฏิบัติการออกแบบลวดลายประเภทต่างๆ

202216                             การออกแบบตัวอักษร                                           3(2-2-5)

                                          (Lettering Design)

ประวัติความเป็นมาของตัวอักษร ฝึกปฏิบัติการประดิษฐ์ตัวอักษรให้สัมพันธ์กับภาพหรือเรื่องราว โดยคำนึงถึงการสื่อสารความหมาย ความรู้สึกของตัวอักษร และความกลมกลืนขององค์ประกอบศิลป์

202217                             ทฤษฎีสีสำหรับนักออกแบบ                                     3(2-2-5)

      (Color Theory for Designer)

ทฤษฎีสี คุณสมบัติของสี จิตวิทยาการใช้สี สัญลักษณ์ของสีประเภทต่าง ๆ และเทคนิคการนำสีไปใช้กับงานออกแบบ และฝึกปฏิบัติการใช้สีรูปแบบต่าง ๆ

202221                             คอมพิวเตอร์เพื่อการสร้างงานออกแบบ มิติ         3(2-2-5)

                                          (Computer for Two Dimensional Design)

หลักการออกแบบ 2 มิติ โดยเน้นการจัดองค์ประกอบที่นำไปใช้ในงานทัศนศิลป์ด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

202222                             ศิลปะการถ่ายภาพ                                               3(2-2-5)

                                          (Photography Arts)

ประวัติความเป็นมาของการถ่ายภาพการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาและความสัมพันธ์ของการถ่ายภาพแต่ละชนิด และศิลปินภาพถ่ายที่มีความสำคัญ ศึกษาเกี่ยวกับการใช้กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว 35 มม. และกล้องดิจิตอลสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวขนาด 35 มม. ส่วนประกอบ หลักการทำงานเลนส์  อุปกรณ์เสริมของกล้องการสร้างสรรค์ภาพถ่ายภาพ  ฟิล์ม ขาว-ดำ กระบวนการซ้อนฟิล์มภาพสีและภาพขาว-ดำ เทคนิคการตกแต่งภาพด้วยการเพ้นท์สีลงฟิล์มและไฟล์ดิจิตอล รวมถึงการถ่ายภาพจัดแสงมาตรฐานในสตูดิโอ และนอกสตูดิโอ

202223                             การพิมพ์หนังสือและสิ่งพิมพ์                                   3(2-2-5)

                                          (Publishing and Printing)

ประวัติความเป็นมา และวิวัฒนาการของการออกแบบหนังสือประเภทต่างๆ ทำความเข้าใจในการพิมพ์ สิ่งพิมพ์ ลักษณะตัวอักษร และเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการพิมพ์ ฝึกปฏิบัติการออกแบบจัดรูปเล่มหนังสือและสิ่งพิมพ์ ตลอดจนเข้าถึงธุรกิจด้านการพิมพ์

202224                             ธุรกิจเพื่อการออกแบบ                                          3(2-2-5)

                                           (Business for Design)

บทบาทของการทำธุรกิจด้านการออกแบบในสังคม ประเภท และองค์ประกอบของธุรกิจด้านการออกแบบ การตลาด การดำเนินธุรกิจ การจัดองค์กร การงบประมาณ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ     ด้านการออกแบบ

202225                             การออกแบบผลิตภัณฑ์กระดาษ                                3(2-2-5)

                                          (Paper Product Design)

รูปแบบและกระบวนการต่างๆ ของผลิตภัณฑ์กระดาษในท้องถิ่น เพื่อนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการออกแบบเครื่องใช้ เครื่องตกแต่งที่ผลิตด้วยกระดาษในรูปและวิธีการแตกต่างกัน เน้นในเรื่องความงามของรูปทรงลักษณะของวัสดุ วิธีการประกอบ และการเสนอความคิดใหม่ทั้งรูปแบบและประโยชน์ใช้สอย

202226                             การออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์                            3(2-2-5)

                                          (Lettering Typography Design for Printing)

และวิเคราะห์รูปแบบตัวอักษรทั้งไทยและสากลประเภทต่างๆ ปฏิบัติการออกแบบตัวอักษรโดยเน้นถึงรูปแบบและความสัมพันธ์ระหว่างตัวอักษรที่ใช้กับสื่อที่จะนำไปประกอบเข้าด้วยกันภายในขอบเขตและรูปร่างที่กำหนดให้

202227                             เทคนิคการถ่ายภาพ                                             3(2-2-5)

                                          (Photography Technic)

ประวัติการถ่ายภาพ ประโยชน์ของการถ่ายภาพ หลักการทำงานของกล้องถ่ายภาพ ชนิด ส่วนประกอบของกล้อง อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้การเก็บรักษา ชนิดของฟิล์ม เทคนิคต่างๆ ในการถ่ายภาพ เครื่องวัดแสง การปฏิบัติงานในห้องมืด กระบวนการล้าง อัดขยายรูป และฝึกปฏิบัติการถ่ายภาพด้วยเทคนิควิธีต่างๆ

202228                             การออกแบบเรขศิลป์                                            3(2-2-5)

                                           (Graphic Arts)

ประวัติเป็นมาของการออกแบบเรขศิลป์ โดยใช้ภาษาภาพ (Hieroglyphic) ในการออกแบบสื่อสาร ด้วยเทคนิคต่างๆในสอดคล้องกับยุคสมัยในลักษณะภาพกราฟิก 2 มิติ และ 3 มิติ โดยใช้หลักองค์ประกอบของการออกแบบ (Elemental Design) ให้เกิดรูปทรง เส้น จุด ระนาบ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานออกแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ รวมถึงการใช้สัญญะในการสื่อสารในงานสิ่งพิมพ์

202322                             การออกแบบเครื่องแต่งกาย                                     3(2-2-5)

                                           (Fashion Design)

ประวัติความเป็นมา วิวัฒนาการ ลักษณะแบบอย่าง ในการพัฒนาทางด้าน วัสดุ สีของเครื่องแต่งกาย ทฤษฎีการออกแบบ กรรมวิธีการผลิตเครื่องแต่งกาย และการนำผ้าทอพื้นเมืองในท้องถิ่นมาฝึกปฏิบัติการออกแบบเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมกับยุคสมัย

202323                             หลักการผลิตงานโฆษณา                                       3(2-2-5)

                                          (Principles of Advertising)

ประวัติและวิวัฒนาการของการโฆษณาโดยสังเขป การโฆษณาประเภทต่างๆ และกรรมวิธีของการโฆษณา ซึ่งรวมถึงโครงสร้างและวิธีเขียน

202324                             การออกแบบสื่อโฆษณา                                         3(2-2-5)

                                           (Advertising Design)

ปฏิบัติขั้นตอนการออกแบบโฆษณาด้วยแผ่นป้ายที่มีขนาดใหญ่ที่ติดตั้งภายนอกอาคาร (Outdoor) ด้วยเทคนิคและรูปแบบที่แตกต่าง โดยเน้นถึงความเหมาะสมของความคิดกับสื่อที่ใช้ในการโฆษณา

202325                             การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อท้องถิ่น                             3(2-2-5)

                                           (Product Design for Local)

วิเคราะห์รูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อนำวัสดุในท้องถิ่นมาประยุกต์ให้เหมาะสมตามสมัยนิยม และปฏิบัติการออกแบบโดยเน้นการพัฒนารูปแบบ รูปทรง ลวดลาย ขนาดของผลิตภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น

202326                             การออกแบบเครื่องประดับ                                      3(2-2-5)

                                          (Jewelry Design)

ลักษณะแบบอย่างและประวัติความเป็นมาในการพัฒนาด้านวัสดุและสีของเครื่องประดับ ทฤษฎีการออกแบบเครื่องประดับ การนำวัสดุท้องถิ่นมาฝึกปฏิบัติการออกแบบเครื่องประดับ

202327                             การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อท้องถิ่น                            3(2-2-5)

                                           (Packaging Design for Local)

แนวคิดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเลือกวัสดุ กรรมวิธีการผลิต เอกลักษณ์ทางการออกแบบ ซึ่งมีอิทธิพลต่อรูปทรงและการใช้ของงานบรรจุภัณฑ์ เพื่อผู้ศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในโครงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ต่อไป (เน้นการศึกษาภาคสนาม)

202334                             คอมพิวเตอร์เพื่อการสร้างงานออกแบบ มิติ             3(2-2-5)

                                          (Computer for Three Dimensional Design)

หลักการออกแบบ 3 มิติ โดยเน้นเรื่ององค์ประประกอบที่สัมพันธ์กัน จากวัสดุเบื่องต้นที่เปลี่ยนแปลงรูปทรงได้ด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

202335                             คอมพิวเตอร์เพื่อการสร้างภาพเคลื่อนไหว                   3(2-2-5)

                                           (Computer for Animation)

หลักการสร้างภาพเคลื่อนไหว ฝึกปฏิบัติออกแบบงานภาพเคลื่อนไหวประเภทต่างๆ ด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

202336                             วาดเส้นสร้างสรรค์                                              3(2-2-5)

                                          (Creative Drawing)

ปฏิบัติการวาดเส้นสร้างสรรค์ด้วยเทคนิคและกรรมวิธีต่างๆ โดยฝึกทักษะกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ การนำเสนอเรื่องราว เพื่อให้สอดคล้องกับการนำไปใช้ประโยชน์ในงานออกแบบ

202337                             การถ่ายภาพเพื่องานนิเทศศิลป์                                 3(2-2-5)

                                          (Photography for Visual Communication)

ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการการถ่ายภาพ หลักการจัดภาพ กรรมวิธีในการถ่ายภาพประเภทต่างๆ ขั้นพื้นฐาน ตลอดจนกรรมวิธีในการพิมพ์ลงบนวัสดุต่างๆ และกระบวนการอื่นที่ต่อเนื่องกับการถ่ายภาพทั้ง 2 มิติและ 3 มิติ และฝึกปฏิบัติการถ่ายภาพเพื่องานออกแบบนิเทศศิลป์

202338                             การเขียนภาพประกอบ                                          3(2-2-5)

                                          (Illustration)

ปฏิบัติการเขียนภาพในลักษณะเหมือนแบบจริงหรือจากจินตนาการเพื่อนำมาประกอบเรื่องประเภทต่าง ๆ เช่น นวนิยาย สารคดี หนังสือ แบบเรียนและหนังสืออ่านประกอบสำหรับเด็กทุกชนิด ทั้งนี้จะต้องศึกษาถึงลักษณะและวิธีการแสดงออก เพื่อให้ผลงานสอดคล้องหรือส่งเสริมกันในเรื่องดังกล่าว

202339                             คอมพิวเตอร์กราฟิก                                             3(2-2-5)

                                          (Computer Graphic)

หลักการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการทำงานกราฟิก ฝึกปฏิบัติออกแบบและผลิตผลงาน เช่น ตกแต่งภาพ การจัดทำต้นฉบับ การเขียนภาพ เพื่อความสมบูรณ์ของงานออกแบบนิเทศศิลป์

202340                             การออกแบบเว็บไซต์                                            3(2-2-5)

                                            (Web Design)

หลักการและแนวคิดในการจัดการทางด้านเนื้อหา กระบวนการสื่อสาร การออกแบบโครงสร้างหน้าต้นแบบ(Templat)ของเว็บไซต์ การเขียนโปรแกรมคำสั่งขั้นต้น การใช้งานบนเว็บไซต์ รวมทั้งศึกษาระบบฐานข้อมูลขั้นต้นและโครงสร้างฐานข้อมูล เพื่อเชื่อมโยงการเขียนโปรแกรมคำสั่งกับฐานข้อมูล

 202431                             การออกแบบตกแต่งภายนอก                                   3(2-2-5)

                                           (Exterior Design)

หลักการและทฤษฎีการออกแบบตกแต่งภายนอก อาคารประเภทต่างๆ รวมทั้งการจัดเวทีกลางแจ้ง และการจัดบริเวณตามความมุ่งหมายและโอกาสต่าง ๆ ปฏิบัติการออกแบบตกแต่งภายนอกโดยคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ทั้งในด้านความงามและวัสดุ ศึกษาทฤษฎีและปฏิบัติการออกแบบตกแต่งภายนอกอาคาร และการออกแบบภูมิสถาปัตย์โดยคำนึงถึงความเหมาะสม กลมกลืนของพันธุ์ไม้ บริเวณและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เช่น แสงไฟ การรักษา ดูแลเพื่อให้การออกแบบสมบูรณ์

 

202432                             การออกแบบตกแต่งภายใน                                     3(2-2-5)

                                          (Interior Design)

หลักการและทฤษฎีการออกแบบตกแต่งภายในการจัดวางกลุ่มสี วัสดุ ครุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับลักษณะของห้อง รวมทั้งการตกแต่งในโอกาสพิเศษ เช่น การตกแต่งเวทีภายในอาคารปฏิบัติการออกแบบตกแต่งภายใน โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน

202433                             การวิเคราะห์ข้อมูลการออกแบบ                                3(2-2-5)

                                          (Analytical Design)

หลักการรวบรวมข้อมูลและวิธีการรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์หาข้อสรุป ในการออกแบบงานประเภทต่างๆ และเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างง่าย

202434                             การออกแบบสื่อมัลติมีเดีย                             3(2-2-5)

                                           (Multimedia Design)

การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟแวร์ โดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ, กราฟิก, ภาพเคลื่อนไหว, เสียง, วีดีทัศน์ มารวมไว้ในสื่อมัลติมีเดีย และฝึกผลิตสื่อมัลติมีเดีย

202435                             การเขียนบทและภาพแสดงเรื่องราว                           3(2-2-5)

                                           (Script and Story Board)

หลักการ โครงสร้าง และองค์ประกอบที่สำคัญของการเขียนบท และภาพประกอบในงาน บทละคร สารคดี โฆษณา ภาพยนตร์ และอื่น ๆ ศึกษาปัญหาของการเขียนบทชนิดต่าง ๆ รวมทั้งการวิจารณ์  โดยเน้นถึงการใช้ภาษาภาพสัญญะในงานภาพยนตร์อย่างมีหลักเกณฑ์ ศึกษาหลักการ โครงสร้าง  การเขียนบทและภาพที่ใช้ในยุคสมัยปัจจุบัน  โดยเน้นถึงการใช้ภาษาอย่างมีหลักเกณฑ์

 202441                             สัมมนาด้านการออกแบบ                                       3(2-2-5)

                                           (Seminar in Design)

แนวความคิดด้านงานนฤมิตศิลป์แขนงต่างๆ ฝึกการดำเนินการสัมมนา เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วิพากษ์ วิจารณ์ ผลงานออกแบบ หรือประเด็นปัญหาที่ส่งผลต่องานออกแบบ เพื่อให้เกิดมุมมอง และแนวคิดที่หลากหลาย  ตลอดจนสำรวจความเคลื่อนไหวของงานออกแบบต่างๆ ในปัจจุบัน

202442                             การออกแบบนิทรรศการ                                        3(2-2-5)

                                          (Design of Exhibition)

ทฤษฎีและการออกแบบ การจัดนิทรรศการประเภทต่างๆ โดยเน้นการกำหนดรูปแบบแผนผังบริเวณ ตำแหน่ง ทิศทาง ฯลฯ ปฏิบัติการออกแบบ การจัดและตกแต่งนิทรรศการตามความมุ่งหมายต่างๆ และฝึกออกแบบ Model, Display

202443                             โครงการพิเศษออกแบบนิเทศศิลป์                    3(2-2-5)

                                        (Special Projection in Visual Communication Design)

นักศึกษาเลือกหัวข้อเรื่องเพื่อปฏิบัติงานออกแบบนิเทศศิลป์ที่สมบูรณ์ โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจและตัดสินโครงการพิเศษ ส่วนการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามขั้นตอนที่คณะกรรมการกำหนด และต้องจัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชน

202444                             การนำเสนอผลงานออกแบบ                          3(2-2-5)

                                        (Art Presentation: Design)

ทฤษฎีและกระบวนการนำเสนอ วิเคราะห์ และประเมินผล และฝึกปฏิบัติการนำเสนอผลงานออกแบบ

กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

รหัส                                  ชื่อและคำอธิบายรายวิชา                             น(ท-ป-ศ)

202450                         การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพออกแบบนิเทศศิลป์ 1(0-45-0)

  (Preparation for Professional Experience in Visual Communication Design)

จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพในด้านการรับรู้ลักษณะและโอกาสของการประกอบอาชีพ การพัฒนาตัวผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ แรงจูงใจ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพออกแบบนิเทศศิลป์ โดยการกระทำในสถานการณ์หรือรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวกับงานในวิชาชีพนั้น ๆ

 202451                             การฝึกประสบการณ์วิชาชีพออกแบบนิเทศศิลป์     5(0-450-0)

                                            (Filed Experience in Visual Communication Design)

พื้นความรู้ สอบผ่านรายวิชา 202450 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพออกแบบนิเทศศิลป์

นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานตามแขนงและสาขาที่นักศึกษามีความถนัดและสนใจเป็นพิเศษในสถานประกอบการณ์จริง เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์วิชาชีพให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถนำผลจากการฝึกปฏิบัติงานไปใช้ในการประกอบอาชีพได้

202452                             สหกิจศึกษา                                             6(0-640-0)

                                         (Coperative Education)

พื้นความรู้ สอบผ่านรายวิชา 202450 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพออกแบบนิเทศศิลป์

การฝึกงานเสมือนเป็นพนักงานเต็มเวลาในหน่วยงานภาครัฐ หรือสถานประกอบการเอกชนที่เกี่ยวกับงานด้านการออกแบบ เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานแล้วนักศึกษาจะต้องส่งรายงานวิชาการและนำเสนอผลการไปปฏิบัติงานต่อคณาจารย์ในสาขาวิชา เพื่อทำการประเมินให้ผ่านหรือไม่ผ่าน โดยวัดผลจากการประเมินของอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา พนักงานที่ควบคุมการปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐหรือสถานประกอบการเอกชน และจากรายงานวิชาการ

 . หมวดวิชาเลือกเสรี                          เรียนไม่น้อยกว่า      6        หน่วยกิต

ให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาโดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตรของสาขาวิชานี้

 
วันที่เผยแพร่ 23 พฤษภาคม 2562
ผู้เผยแพร่ admin

สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ อาคาร 36 ชั้น 4

Telephone : 044 009 009 # 3641 

วันที่เผยแพร่ 23 พฤษภาคม 2562
ผู้เผยแพร่ admin